ทฤษฏีดุลแห่งอำนาจของสำนักสัจจนิยมใหม่ ที่ถูกปรับปรุงและนำเสนอโดย Kenneth N. Waltz
วันนี้ทางบล็อกของเราขอนำเสนอ ทฤษฏีดุลแห่งอำนาจของสำนักสัจจนิยมใหม่ ที่ถูกปรับปรุงและนำเสนอโดย Kenneth N. Waltz เจ้าพ่อสำนักสัจยิมใหม่(สภาพจริงนิยมใหม่) ซึ่งเป็นทฤษฏีที่สามารถใช้วิเคราะห์และอธิบายการเมืองระหว่างประเทศได้อย่างเห็นชัดในหลายๆปรากฏการณ์
Waltz เห็นว่ารัฐต่างๆจะอยู่รอดในสภาวะอนาธิปไตยของระบบการเมืองระหว่างประเทศได้นั้น ต้องมีการสร้างดุลแห่งอำนาจ (Balance of Power) ซึ่งสามารถสร้างได้ด้วย 2 วิธีการ คือ
- การสร้างดุลแห่งอำนาจภายในรัฐ โดยการใช้ทรัพยากรภายในรัฐ ในการเพิ่มพูนขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ การพัฒนากลยุทธ์ที่ชาญฉลาด ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปยังความเป็นไปได้ในการเพิ่มพูดขีดความสามารถทางทหารของรัฐ เพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงให้แก่รัฐต่อไป รวมถึงชื่อเสียงทางทหาร ทั้งในทางนามธรรม เช่น ขนาดของกองทัพ จำนวนของอาวุธยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยีทางทหาร เป็นต้น และในทางรูปธรรม เช่น การชนะสงคราม การป้องกันการรุนรานที่ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
- การสร้างดุลแห่งอำนาจภายนอกรัฐ จะเกิดขึ้นเมื่อรัฐมีความรู้สึกไม่มั่นคงเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความอ่อนด้อยในด้านขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถทางทหาร ซึ่งวิธีการที่จะสร้างความรู้สึกมั่นคงให้แก่รัฐเพื่อความอยู่รอดในสภาวะอนาธิปไตยของระบบการเมืองระหว่างประเทศได้นั้น ก็คือการสรรหารัฐพันธมิตรเพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงให้แก่รัฐตนและเพิ่มพูนอำนาจในการต่อรองในเวทีการเมืองระหว่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น วิธีการเช่นนี้ก็เคยถูกอังกฤษนำไปใช้เพื่อลดอิทธิพลของมหาอำนาจไม่ให้มีอำนาจนำหรือความเป็นเจ้าโลก ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ค.ศ. 1684-1914 ที่ระบบการเมืองระหว่างประเทศในขณะนั้นเป็นรูปแบบหลายขั้วอำนาจ (Multi-Polar System) และมีการสร้างดุลแห่งอำนาจอยู่เสมอ
reff
reff
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น