วิกฤตการณ์ซีเรียภาพลวงตาของผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างประเทศ
วิกฤตการณ์ในซีเรีย ถือเป็นผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในประเทศที่ถูกปกครองโดยผู้ปกครองเผด็จการ หรือมีรูปการปกครองแบบคณาธิปไตย รวมทั้งประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคอย่างซาอุดิอาระเบีย ซึ่งประชาชนในประเทศต่างๆเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวต่อต้านผู้ปกครองในประเทศของตนตั้งแต่การตั้งคำถามไปจนถึงการขับไล่ หรือสังหาร ผู้ปกครองของตน เนื่องจากพวกเขาต้องการเสรีภาพในการดำรงชีวิตไม่ถูกกดขี่ด้วยอำนาจที่อธรรม สภาพเศรษฐกิจที่ดีเพื่อการดำรงชีพที่ดีขึ้น แต่การตั้งคำถามและการต่อต้านที่บานปลายไปสู่การปฏิวัติโดยประชาชนในหลายๆประเทศนั้นก็ประสบความสำเร็จได้เพียงชั่วคราวในหลายๆประเทศที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว
ปรากฏการณ์เหล่านี้ก็ได้สร้างแรงกระตุ้นให้ผู้ปกครองของประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกลาง เกิดความหวาดระแวงต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอยู่ในประเทศของตนทำให้ผู้ปกครองของประเทศต่างๆ ต้องมีมาตรการการจัดการต่อภัยคุกคามดังกล่าวในรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น การเปิดประเทศที่เป็นไปพร้อมกับการจัดการศัตรูทางการเมืองภายในราชวงศ์ซาอุดิอาระเบีย การเข้าควบคุมอำนาจทางการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จของซีซ๊ในอียิปต์หลังจากช่วงเวลาการทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยของมูรซีได้สิ้นสุดลง และการปราบปรามประชาชนรวามถึงผู้เห็นต่างเพื่อรักษาอำนาจการปกครองอย่างเต็มที่ของอัซซาร์ดในซีเรีย เป็นต้น
ซึ่งท่าทีและการเคลื่อนไหวทางการเมืองเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติในการจัดการภัยคุกคามภายในประเทศของผู้ปกครองในรัฐต่างๆ ตามกรอบแนวคิดการประเมินภัยคุกคามตามตัวแบบทฤษฏีสัจนิยมคลาสสิกแนวใหม่ (Threat assessment Neo-classical realist model) ที่ถูกเสนอโดย สตีเวน อี ลอบเบลล์ กรอบแนวคิดนี้ได้โยงความเกี่ยวพันของการจัดการภัยคุกคามภายในประเทศและภายนอกประเทศเข้าด้วยกัน ผ่านนโยบายต่างประเทศของแต่ละรัฐ ที่เป็นผลกระทบมาจากการเมืองภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งรัฐต่างๆจะเน้นการดำเนินนโยบายต่างประเทศในการจัดการภัยคุกคามและแสวงหาดุลอำนาจทั้งในระบบระหว่างประเทศ ในระดับโลกหรือภัยคุกคามหลายขั้น (Multi-tiered Threats) และในระดับภูมิภาค รวมถึงดุลแห่งอำนาจของการเมืองภายในประเทศของตน
โดยเราจะสามารถแบ่งระดับของการปฏิสัมพันธ์ของรัฐต่างทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง จากวิกฤตการณ์ในซีเรียปัจจุบันและปรากฏการณ์ต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นไปเพื่อการการจัดการกับภัยคุกคามระหว่างกันเพื่อสร้างหรือรักษาอิทธิพลและผลประโยชน์ของรัฐต่างๆ ในระดับต่างๆดังนี้
- การประเมินและการจัดการภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับระบบโลก หรือภัยคุกคามหลายขั้น (Multi-tiered Threats) คือ ความขัดแย้งในปัจจุบันระหว่าง สหรัฐ รัฐราชาธิปไตยซุนนีห์(ยังไม่รวมการ์ตาร์) และพันธมิตรตะวันตก กับ รัสเซีย ซีเรีย และ อิหร่าน ต่างฝ่ายต่างดึงประเด็นทางการเมืองต่างๆ เช่น อาวุธเคมีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ การสงครามที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน สิทธิในการกำหนดใจตนเองของชนกลุ่มต่างๆในแต่ละประเทศ(ประเด็นนี้จะเน้นไปที่เรื่องของชาวเคิร์ด) เป็นต้น ที่จะนำไปสู่การห้ำหั่นกันทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งการฉีกหน้าอีกฝ่ายผ่านสื่อทั่วโลกไปถึงรูปแบบการใช้กำลังห้ำหันกัน เพื่อรักษาผลประโยชน์และอิทธิพลของฝ่ายตนในภูมิภาคตะวันออกกลางเอาไว้
- การประเมินและการจัดการภัยคุกคามระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค (Subsystemic Threats) คือ การการรักษาไว้ซึ่งสถานะมหาอำนาจแห่งภูมิภาตะวันออกกลางของซาอุดิอาระเบีย ผ่านการขยายอิทธิพลทางการเมืองของตนไปในรัฐต่างๆ เช่น อิยปต์ ราชอาณาจักรซุนนีต่างๆ(ยกเว้นการ์ตาร์) การสนับสนุนฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มกองกำลังติดอาวุธในสงครามกลางเมืองในประเทศต่างๆ เช่น กองทัพปลดปล่อยซีเรีย รัฐบาลเยเมน เป็นต้น เพื่อต่อต้านคู่แข่งอย่างอิหร่านที่มีความทะเยอทะยานสู่การเป็นมหาอำนาจแห่งภูมิภาคตะวันออกกลาง ผ่านการขยายอิทธิพลและการสนับสนุน ฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มกองกำลังติดอาวุธในสงครามกลางเมืองในประเทศต่างๆ เช่น รัฐบาลอัซซาร์ด กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ด กลุ่มฮิสบุลลเลาะห์ กลุ่มกบฏฮีส์ เป็นต้น ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวก็เป็นไปเพื่อการการรักษาไว้ซึ่งสถานะมหาอำนาจแห่งภูมิภาตะวันออกกลางของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการต่อภัยคุกคามภายในภูมิภาคในทุกๆเหตุการณ์ และต้องสร้างความเสียหายให้แก่คู่แข่งอย่างอิหร่านอยู่เสมอในทุกๆโอกาส
- การประเมินและการจัดการภัยคุกคามภายในประเทศ (Domestic Threats) คือการจัดการเกี่ยวกับความกระด้างกระเดื่องจากกลุ่มต่างๆภายในประเทศของตน ที่ได้รับแรงจูงใจและอิทธิพลจากเหตุการณ์อาหรับสปริงที่ประเทศต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จากการที่ประชาชนในประเทศต่างๆตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของรัฐบาลเผด็จการมากขึ้นบานปลายไปถึงการปฏิวัติโดยประชาชนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในแต่ละระดับของการประเมินและการจัดการกับภัยคุกคามนั้นก็มีรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์ทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือ ภายในและระหว่างประเทศที่แตกต่างกันไปในแต่ละระดับรวมถึงความเชื่อมโยงของผู้แสดงบทบาทที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างระดับ เช่น ความช่วยเหลือของสหรัฐต่อ รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย กลุ่มติดอาวุธชาวเคิร์ด กองทัพปลดปล่อยซีเรีย เป็นต้น ความช่วยเหลือของรัสเซียต่อ รัฐบาลอัซซาร์ด รัฐบาลอิหร่าน กลุ่มฮิสบุลเลาะห์ เป็นต้น ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้ถือเป็น การขยายความขัดแย้งจากการแข่งขันกันทาอิทธิพลาทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางระหว่างซาอุดิอาระเบีย และอิหร่าน ไปสู่รูปแบบของความขัดแย้งและการแข่งขันทางการเมืองระหว่างประเทศในระดับระบบโลก หรือเกิดภัยคุกคามหลายขั้น(Multi-tiered Threats) ที่เกี่ยวเนื่องกัน ระหว่างระหว่าง สหรัฐ รัฐราชาธิปไตยซุนนีห์(ยังไม่รวมการ์ตาร์) และพันธมิตรตะวันตก VS รัสเซีย ซีเรีย และ อิหร่าน ซึ่งในทุกๆปรากฏการณ์เหล่านี้ ศาสนา ความรู้สึกชาตินิยม และลัทธิทางความเชื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการสร้างความขัดแย้งและความร่วมมือในระดับต่างๆในทุกๆปรากฏการณ์เสมอมา
#YadeebSDPT
reff
อดิ๊บ ยูซุฟ, “กลุ่มภราดรภาพมุสลิมภัยคุกคามต่อซาอุดิอาระเบีย,” เอเชียพิจารณ์ ปีที่ 4, ฉ.8 (ธันวาคม 2560) : หน้า 11-55.
Steven E. Lobell, Norrin M. Ripsman, Jeffrey W. Taliaferro, Neoclassical Realism, the State, and Foreign Policy, pp.45-75
The 7 Best Casino Games Online in the UK - DRMCD
ตอบลบThe 파주 출장안마 7 Best Casino Games Online in the UK. The 고양 출장샵 7 Best 서울특별 출장샵 Casino Games Online in the UK. The 7 Best Casino Games Online in 광주광역 출장마사지 the UK. The 7 오산 출장샵 Best