สหรัฐอเมริกากับความสัมพันธ์บนเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและผลกระทบต่อไทย

            ตั้งแต่อดีตกาลเวทีพหุภาคีนั้นถูกใช้เป็นที่ปรึกษาหารือเพื่อผลประโยชน์ระหว่างประเทศมาอย่างยาวนาน เช่น ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรปที่สามารถยุติความขัดแย้งรุนแรงระหว่างเยอรมันและฝรั่งเศสได้รวมถึงมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดดมาตลอดจนถึงปัจจุบัน สมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่รัฐเอกราชใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้มีขีดความสามารถในการต่อรงกับประเทศมหาอำนาจ และมีส่วนช่วยให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์ในช่วงยุคสงครามเย็นมาได้โดยไม่มีประเทศใดในสมาชิกกลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งต้องถูกกลืนกินไปเป็นประเทศสังคมนิยมที่ล้าหลัง เชื่องช้ากว่าจะลืมตาอ่าปากได้ก็ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเศรษฐกิจเสียใหม่ก่อน เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าเวทีพหุภาคีนั้นมีประโยชน์แก่การรวมตัวอยู่เสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งในช่วงสงครามเย็นสหรัฐอเมริกาก็ได้ใช้รูปแบบเวทีพหุภาคีในการรักษาผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงของตนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เห็นได้ชัดใน SEATO และ ARF ในช่วงยุคหลังสงครามเย็น
                ในการรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสร้างช่องทางแห่งความมั่งคั่งใหม่ๆหลังความเสื่อโทรมของสหรัฐฯหลังสงครามเย็นและสงครามในสมรภูมิต่างๆ ประกอบกับความเชื่องช้าในการเจรจาบนเวทีการค้าพหุภาคีในระดับโลกอย่างการเจรจารอบโดฮาของ WTO จึงได้หันมาให้ความสำคัญต่อเวทีพหุภาคีทางการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากขึ้น อย่าง ASEAN TPP และ APEC รวมถึงเวทีระดับอนุภูมิภาคอย่าง Lower Mekong Initiative เป็นต้น แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสหรัฐอเมริกากับเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอย่างเห็นได้ชัดว่าสหรัฐมีความต้องการไปในทิศทางใด รวมถึงประเด็นที่พยายามจะลดการแผ่ขยายอิทธิพลและการครอบงำในเวทีพหุภาคีต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของจีน ซึ่งเป็นมหาอำนาจคู่แข่งของตนที่กำลังคุกคามอิทธิพลของตนในเอเชียแปซิฟิกมากขึ้นอยู่ทุกวัน ทำให้ช่วงหลังสหรัฐฯจึงมีแนวนโยบายต่างประเทศที่คอยถ่วงดุลอำนาจกับจีนในภูมิภาคนี้อย่างเห็นได้ชัด จากประเด็นเหล่านี้ผู้เขียนจึงเห็นถึงประโยชน์ที่จะศึกษาและวิเคราะห์ในปฏิสัมพันธ์ต่างๆระหว่าง สหรัฐฯกับเวทีพหุภาคีต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สหรัฐฯกับการถ่วงดุลการแผ่ขยายอิทธิพลของจีน รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อไทยจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯที่มีความความสัมพันธ์กับเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

สหรัฐอเมริกากับความสัมพันธ์บนเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ภาพรวมนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ 1945-ปัจจุบัน
สหรัฐอเมริกาถือเป็นมหาอำนาจที่มีขีดความสามารถทางอำนาจและอิทธิพลเป็นอย่างสูงที่ในช่วงหลังสูงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งบริบทของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในขนาดนั้นจะเป็นไปในรูปแบบของการเรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราชของรัฐต่างๆจำนวนมาในภูมิภาคที่ตกอยู่เป็น อาณานิคมของประเทศมหาอำนาจตะวันตกต่างๆเนื่องจากภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่มีสิ่งดึงดูดมหาอำนาจภาคนอกภูมิภาคเข้ามาปฏิสัมพันธ์ตลอดมา เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่รัฐต่างๆมีความอ่อนแอและไร้ซึ่งพลังอำนาจ เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นจุดเชื่อมโลกตะวันตกและตะวันออกที่เป็นทางผ่านของสินค้าที่สำคัญมากโดยเฉพาะการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางสู่พันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐฯอย่างญี่ปุ่นทำให้สหรัฐฯต้องคงไว้ซึ่งกองทัพเรือที่เจ็ดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อดูแลเส้นทางการค้าที่สำคัญนี้ รวมทั้งการที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความเป็นสุญญากาศแห่งอำนาจไม่มีผู้ครอบงำปฏิสัมพันธ์ ทำให้มหาอำนาจต่างเข้าแผ่อิทธิพลเพื่อครอบงำปฏิสัมพันธ์ในภูมิภาค[1]
ซึ่งในภูมิภาคนี้เองสหรัฐอเมริกาก็ได้มีอาณานิคมของตัวเองที่ครอบครองอยู่ด้วยคือประเทศฟิลิปปินส์ โดยสหรัฐเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้าครอบครอง ฟิลิปปินส์ ในปี 1898 ต่อจากสเปน โดยร่วมมือกับพวกปัญญาชนชั้นสูง Llustrados แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองฟิลิปปินส์ก็ได้ถูกญี่ปุ่นเข้ายึดครองแทนที่ชั่วคราวในช่วงปี 1941-1945 จากการพ่ายแพ้ของกองกำลังทหารอเมริกันที่นำโดย นายพล ดักลัส แมคอาเธอร์ ในสมรภูมิปี 1941 ทำให้ต้องล่าถ่อยไปพร้อมกับคำประกาศว่าจะกลับมา (I shall return) และในขณะเดียวกันกลุ่มคนหนุ่มชนชั้นสูงชาวฟิลิปปินส์ก็ได้รวมตัวกันฝึกซ้อมการทหารเพื่อรอการกลับมาของทหารสหรัฐฯ และได้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารสหรัฐฯและปราบกองทัพญี่ปุ่นได้สำเร็จ พร้อมกับการประกาศยอมแพ้ของญี่ปุ่นในวันที่ 15 สิงหาคม 1945 และได้ประกาศให้เอกราชแก่ฟิลิปปินส์ในวันที่ 4 กฤษฎาคม 1946 ตามข้อตกลง Tydings-Mcduffie นับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ได้รับเอกราช โดยแม้มีการให้เอกราชแก่ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯก็ยังคงไว้ซึ่งสิทธิพิเศษและความผูกพนที่แน่นแฟ้นในฟิลิปปินส์ เช่น ความผูกพันในทางด้านความมั่นคงจากการคงไว้ซึ่งฐานทัพอากาศ Clark Airfield ทัพเรือที่อ่าว Subic Bay สนธิสัญญาพันธมิตรในระบบความมั่นคงร่วมกันในปี 1951 และในปี 1954 มีการจัดทำสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ซึ่งถือว่าเป็นเวทีพหุภาคีเวทีแรก ที่สหรัฐฯได้เข้าร่วมมีปฏิสัมพันธ์ด้วยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหลังจากการจัดตั้ง United States Pacific Command ในปี1947 เพื่อจัดการกับภัยคอมมิวนิสต์ที่กำลังลุกลามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่สหรัฐฯหวาดกลัวว่าจะเป็นไปในรูปแบบของการลุกลามเชื่อมต่อกันแบบทฤษฏีโดมีโน โดยเชื่อว่าประเทศที่อยู่ติดกับประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์จะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามไปจากการลุกลามที่ซึมซับเข้าสู่กัน[2]
หลังจากการที่สหรัฐฯได้เข้ามาเกี่ยวพันธ์ในการสกัดกั่นการกระจายของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและล้าถ่อยออกไปด้วยความพ่ายแพ้จากสงครามเวียดนามโดยการถอนทหารออกจากสมรภูมิในปี 1969 สหรัฐก็ได้หวนกลับมาในเวทีพหุภาคีของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกครั้ง คือ APEC ARF TPP และEAS ซึ่งจะกล่าวต่อไปในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง[3]
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและความร่วมมือแบบพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในยุคสงครามเย็น และสาเหตุที่ละทิ้งออกไปจากภูมิภาค
            ในยุคสงครามเย็นนั้นสหรัฐได้มีการประกาศ หลักการ ทรูแมน (Truman Doctrine) ในวันที่ 12 มีนาคม 1947 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการถือนโยบายหลักของประเทศที่จะต้องสกัดกั้นการแผ่ขยายอำนาจของคอมมิวนิสต์ในทุภูมิภาคของโลกทั้ง ไม่ว่าการขยายอำนาจของค่ายคอมมิวนิสต์จะออกในรูปแบบการรุกรานโดยตรงด้วยการใช้กำลัง หรือจากรูปแบบของการสนับสนุนพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศใดประเทศหนึ่งในการโค่นล้มการปกครองเดิมของประเทศนั้นก็ตาม
                สหรัฐฯมองว่าความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในเวียดนามต่อกองกำลังขบวนการเวียดมินห์ในปี 1954ถือว่าเป็นการพ่ายแพ้ของโลกเสรีต่อคอมมิวนิสต์ สหรัฐฯจึงถือว่าจากสถานการณ์เช่นนี้จึงเป็นภาระของตนในการเข้ามาสกัดกั่นการแผ่ขยายอำนาจของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้ โดยมีความร่วมมือออกมาในรูปแบบของเวทีพหุภาคีคือ การจัดทำสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ในปี 1954 โดยมีสมาชิก 7 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย แสดงให้เห็นถึงรูปแบบความร่วมมือทางความมั่นคงระหว่างประเทศมหาอำนาจค่ายโลกเสรีกับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
โดยมีความปรารถนาที่จะเสริมสร้างโครงร่างแห่งสันติภาพ และเสรีภาพให้มั่นคงแข็งแรงยิ่งขึ้น เชิดชูหลักประชาธิปไตย เสรีภาพส่วนบุคคล หลักเกณฑ์แห่งกฎหมายและส่งเสริมสวัสดิภาพและวัฒนาการทางเศรษฐกิจสำหรับประชาชนทั้งมวลในเขตสนธิสัญญา
มีเจตนาที่จะประกาศโดยเปิดเผยและเป็นทางการถึงความสำนึกในเอกภาพซึ่งภาคีทั้งมวลที่มีอยู่ เพื่อว่าผู้ใดก็ตามที่อาจรุกราน จักได้สังวรว่า ภาคีในเขตนี้จะยืนหยัดร่วมกันเสมอ และปราถนาที่จะประสานความเพียรพยายามเพื่อการป้องกันร่วมกัน เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงตลอดไป
ซึ่งการจัดทำสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) นั้นไม่ได้เป็นไปในรูปแบบของความมั่นคงร่วมกัน ที่ประเทศใดประเทศหนึ่งถูกรุกรานจากประเทศภายนอกเขตสนธิสัญญาทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันในการจัดการกับการรุกรานนั้นๆ แต่สัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจะมีรูปแบบความมั่นคงร่วมกันทางการเมืองเสียมากกว่า ในการแลกเปลี่ยนผู้เชียวชาญทางทหารข้อมูลข่าวสาร ในการเฝ้าระวังภัยร่วมกันของประเทศสมาชิกในเขตสนธิสัญญา ซึ่งก็สร้างความไม่พอใจและความหวาดระแวงในความมั่นคงให้กับบางประเทศในเขตสนธิสัญญาอย่างเช่น ประเทศไทยที่มีเขตแดนติดกับกลุ่มประเทศอินโดจีน ที่มีประเทศเวียดนามที่เข้มแข็งในการรบสร้างความหวาดระแวงให้กับผู้นำทหารของไทยเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เกิดแถลงการณ์ร่วมถนัด-รัสก์เมื่อเดือนมีนาคม 1962 เพื่อสร้างความมั่นใจที่จะเผชิญกับภัยความมั่นคงของประเทศจากการรุกรานของภัยคอมมิวนิสต์โดยผูกมัดว่า สหรัฐฯ ที่จะต้องช่วยเหลือไทยทันทีเมื่อถูกรุกราน
หลังจากการจัดตั้ง สัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วนั้น สหรัฐก็ได้เข้ามาดำเนินภารกิจสกัดกั่นภัยคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยการสนับสนุนกองกำลังเวียดนามใต้ในการต่อสู้กับเวียดนามเหนือและขบวนการเวียดกงที่จีนสนับสนุนในรูปแบบของสงครามกองโจร (Guerrilla Warfare) ในช่วงปี 1959-1960 และได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นการทำสงครามขนาดใหญ่ (Conventional Warfare) ในช่วงปี 1964-1965 โดยสหรัฐฯได้ใช้แสนยานุภาพทางทหารและกำลังพลมหาศาลในการรบเพื่อที่จะได้รับชัยชนะในสงครามเวียดนามภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเห็นได้ว่าในช่วงสงครามเย็นนั้นเวทีพหุภาคีที่สหรัฐเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ด้วยเป็นไปในด้านความมั่นคงเป็นหลักอย่าง (SEATO) แต่เมื่อสหรัฐฯได้ประสบความล้มเหลวในสงครามเวียดนาม ที่ได้ทุ่มแสนยานุภาพทางทหารและพลังทางเศรษฐกิจของตนไปอย่างมหาศาล ก็ไม่อาจต้านทานความกระหายอิสรภาพและเอกราชของกองทัพประชาชนชาวเวียดนามเหนือได้ ทำให้ประธานาธิบดี ลินดอน จอห์นสัน ของสหรัฐฯ ต้องขอเจรจาสงบศึกกับ ประธานาธิบดี โอจิมิน ของเวียดนามเหนือ ณ กรุงปารีสในปี 1968 และประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ก็ได้ประกาศถอนตัวอเมริกาออกจากเวียดนามและเอเชียอาคเนย์ โดยได้ประกาศหลักการว่าจะให้ชนพื้นเมืองของเอเชียอาคเนย์รับภาระด้านการต่อสู้กับการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์ต่อไป และสหรัฐฯจะสนับสนุนเฉพาะด้านอาวุธยุทโธปกรณ์เท่านั้น
การประกาศหลักการเช่นนี้ของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน แสดงให้เห็นว่าสหรัฐฯพยายามจะลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของตนให้ได้มากที่สุดและต้องการยุติสงครามเวียดนามให้ได้เร็วที่สุด ผลที่เกิดตามมาจากการประการ หลักการ นิกสัน คือความท้อแท้สิ้นหวังของเวียดนามใต้ในการคงอยู่ของประเทศตนในฐานะประเทศเอกราช แต่สำหรับเวียดนามเหนือและเวียดกงนั้นคือโอกาสที่ดีที่จะทำสงครามให้ยืดเยื้อเพื่อความได้เปรียบทางทหารในสมรภูมิรบให้ได้มากที่สุดเห็นได้จากการขยายการรุกรานไปยังกัมพูชาและลาวทำให้กลุ่มประเทศอินโดจีนกลายเป็นคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในปี 1975 และความได้เปรียบของอำนาจการต่อรองบนโต๊ะเจรจาทางการทูตที่กำลังดำเนินอยู่ ณ กรุงปารีส ส่วนประเทศที่มีเขตแดนติดกับกลุ่มประเทศอินโดจีนอย่างไทยนั้นถือเป็นวิกฤติทางความมั่นคงของประเทศ ทำให้ไทยปรับท่าทีในนโยบายต่างประเทศของตนโดยการหันไปปรับสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนตามแนวทางที่สหรัฐฯได้ปฏิบัติโดยได้ความช่วยเหลือที่จะทำให้การปรับสัมพันธ์เป็นไปได้ง่ายขึ้นจากกลุ่มนักธุรกิจชาวไทยเชื้อสายจีน[4]
ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและความร่วมมือแบบพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหลังยุคสงครามเย็น
หลังจากสิ้นสุดสงครามเวียดนามสหรัฐอเมริกาได้สูญเสียทรัพยากรไปอย่างมหาศาลทั้งชีวิตของพลทหารและทรัพย์สินของประเทศ รวมทั้งชื่อเสียงทางทหาร จึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมากนัก โดยไปเน้นการกู้คืนชื่อเสียงทางทหารในสงครามอ่าวเปอร์เซียเสียมากกว่า
มีการเข้าร่วมรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่เป็นความร่วมมือแบบพหุภาคีในปี 1989 อย่าง APEC ในช่วงของ ประธานาธิบดี บุช(ผู้พ่อ) และยกระดับเวทีพหุภาคีนี้ให้เป็น Summit ในปี 1992 โดย ประธานาธิบดีบิลคลินตัน แต่ก็ยังไม่ได้ถือเป็นความร่วมมือที่สหรัฐฯสนใจมากนักเนื่องจากเป็นความร่วมมือแบบหลวมๆไม่มีอำนาจบังขับใช้จริงจังและยังมิอาจบรรลุเป้าหมายแรกโบกอร์ ในการจัดทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้สำเร็จเสียที[5]
สหรัฐฯเริ่มกลับมาให้ความสนใจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอีกครั้ง ในช่วงเวลาของรัฐบาลบุช(ผู้ลูก) ที่ให้ความสนใจและผูกพันกับ ASEAN ARF และ APEC ในทุกครั้งที่มีการประชุม APEC  ประธานาธิบดีบุชและรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐจะเข้าร่วมการประชุม ARF ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 เพื่อเป็นเวทีพหุภาคีในการปรึกษาหารือในประเด็นเรื่องความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยสหรัฐฯเน้นไปที่เรื่องของการต่อต้านและการลดการแพร่ขยายของการก่อการร้ายหลังจากเหตุการณ์ 9/11 และจนถึงช่วงปี 2005-2006 จึงมีการเสนอหัวข้อหารือใหม่ พูดถึงภัยต่อความมั่นคงรูปแบบใหม่เช่นอาชญากรรมข้ามชาติ การจัดการภัยพิบัติ การโต้ตอบต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ในเรื่องของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีขนาดใหญ่นั้น รัฐบาลบุชก็ไม่ได้ให้ความสนใจ การที่สหรัฐให้ความสนใจเช่นนี้แต่ในเรื่องการต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็สร้างความระคายเคืองให้แก่ชาวมุสลิมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยเช่นกันในการที่อเมริกาดำเนินการเช่นนี้
นักวิชาการหลายท่าเห็นว่า การกระทำเช่นนี้ของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าไม่มีความเข้าใจต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกอบกับการมองอาเซียนและองค์การอื่นๆเป็นแค่เวทีของการพูดไม่สามารถสร้างประโยชน์ที่แท้จริงได้ สะท้อนให้เห็นว่าอเมริกาล้มเหลวในการให้ความสำคัญและเข้าใจอาเซียนและองค์การอื่นๆในฐานะองค์การที่สร้างการอำนวยความสะดวกทางการค้าและเป็นศูนย์รวม รวมถึงรักษาสันติภาพในภูมิภาค
จากคำวิจารณ์ต่างๆในช่วงปลายของวาระ ประธานาธิบดีบุช ในการประชุมสุดยอด APEC ประจำปี 2005 มีผู้นำจากประเทศอาเซียนเข้าร่วม 7 ประเทศที่เมืองปูซานเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีบุชร่วมกับผู้นำชาติอื่นๆจัดทำหุ้นส่วนเสริมสร้างและยกระดับสหรัฐอเมริกา-อาเซียน เป็นการกระตุ้นให้มีความร่วมมือในเชิงลึกและกว้างมากขึ้นในเรื่อง เศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง ในพื้นที่ตามที่ตกลงในแผนปฏิบัติการ 5 ปี ซึ่งในแผนมีแผนปฏิบัติการความมั่นคง มีเรื่องเกี่ยวกับการลดการแพร่หลายของอาวุธ อาชญากรรมข้ามชาติและการก่อการร้ายรวมอยู่ด้วย และในปี 2008 สารอเมริกาได้ส่งทูตมาสู่อาเซียนเป็นชาติแรกอีกด้วย
สหรัฐฯตระหนักว่าการละเลยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่ได้ทำให้ได้เปรียบทางเศรษฐกิจในปี 2008 อเมริกาก็ได้มีการประกาศเข้าร่วมและจัดทำ หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (TPP) ระหว่างกลุ่มการค้า 4 กลุ่ม คือ ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และบรูไน และประเทศสมาชิกอื่นๆ รวมถึงการพูดถึงเรื่องของการพัฒนา 6 ฝ่าย หรือ 6PT ในการจัดการกับปัญหานิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือมีการจัดการทำงานร่วมกันของกลุ่ม 6PT แต่ก็ดำเนินการได้น้อย หลังจากมีการระงับการประชุมชั่วคราวหลังจากการทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือกลางปี 2009 การประชุมในอนาคตก็มีแต่มุมมองของอเมริกาที่เป็นใหญ่หรือมุมมองชาติอื่นบ้างแต่ก็ไม่ได้หาทางออกให้กับปัญหานิวเคลียร์เกาหลีเหนือได้สำเร็จ มีการพูดถึงการเกิดกลุ่มพหุภาคีในเอเชียอย่าง East Asia Summit ที่นำโดยอาเซียนในปี 2005 สหรัฐฯได้เข้าร่วมได้สำเร็จในปี 2010
ในภูมิภาคที่กว้างใหญ่อย่าง เอเชียแปซิฟิกนั้น มีปฏิสัมพันธ์ในทางการเมืองและความมั่นคงที่สหรัฐเป็นแกนนำใหญ่อีกคือ US Pacific Command ที่มีความผูกพันทางทหารแบบพหุภาคี กับกองทัพและรัฐบาลชาติต่างๆในเอเชียซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ในช่วงรัฐบาลของบิลคลินตัน ภายใต้ความสำเร็จของพลเรือเอก เดนนิส แบล ถึง พลเรือเอก โรเบิร์ต  วิลลาด และอดีต รัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐอเมริกา โรเบิร์ต เกทส์ ก็ได้มีการสถาปนาการประชุมรัฐมนตรีตรีกลาโหมอาเซียน PLUS ที่ฮานอยในปี 2010 เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย รัสเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ การดำเนินการเช่นนี้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้ทหารสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคที่มีความเป็นพลวัตสูงอย่างเอเชียแปซิฟิกและการสร้างความร่วมมือที่กว้างขึ้นทางทหารและความมั่นคง ร่วมกันจัดการในเรื่องประเด็นต่างๆจากภัยพิบัติ จนถึงการลดการแพร่ขยายนิวเคลียร์ รวมถึงการต่อต้านการก่ออาชญากรรมข้ามชาติการก่อการร้าย[6]
หากเราจะประเมินความสำเร็จและผลประโยชน์ที่สหรัฐได้รับจากเวทีพหุภาคีที่ตนเป็นตัวตั้งตัวตีในยุคสงครามเย็นอย่าง สัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็จะเห็นได้ว่ามีความสำเร็จในระดับหนึ่งที่ป้องกันไม่ให้ประเทศในเขตสนธิสัญญาถูกรุนรานและยึดครองแปลเปลี่ยนเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ผลประโยชน์ที่สหรัฐฯได้จากความร่วมมือนี้นั้นอาจมองได้ไม่เห็นชัดเป็นรูปธรรมเห็นแต่เพียงความย่อยยับจากสงครามเวียดนามที่ประเทศในเขตสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นไม่สามารถช่วยให้สหรัฐฯเอาชนะในสมรภูมิสงครามเวียดนามได้
การดำเนินนโยบายต่างประเทศของ ประธานาธิบดีบุชและโอบามา ที่มีความความสัมพันธ์กับเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ความสำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจต่อสหรัฐอเมริกา
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีสิ่งดึงดูดมหาอำนาจภาคภายนอกภูมิภาคเข้ามาปฏิสัมพันธ์ตลอดมา เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่รัฐต่างๆมีความอ่อนแอและไร้ซึ่งพลังอำนาจ เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เป็นจุดเชื่อมโลกตะวันตกและตะวันออกที่เป็นทางผ่านของสินค้าที่สำคัญมากโดยเฉพาะการขนส่งน้ำมันจากตะวันออกกลางสู่พันธมิตรที่สำคัญของสหรัฐฯอย่างญี่ปุ่น เป็นเหตุผลที่ทำให้สหรัฐฯต้องคงไว้ซึ่งกองทัพเรือที่เจ็ดที่โยะโกะซุกะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มีกองเรือขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐจากทุกภูมิภาค เพื่อดูแลเส้นทางการค้าที่สำคัญนี้ รวมทั้งการที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความเป็นสุญญากาศแห่งอำนาจไม่มีผู้ครอบงำปฏิสัมพันธ์ ทำให้มหาอำนาจต่างเข้าแผ่อิทธิพลเพื่อครอบงำปฏิสัมพันธ์ในภูมิภาคอย่างแข่งขันกัน ซึ่งสหรัฐเองได้เข้ามาในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม ยุคสงครามเย็น และยุคหลังสงครามเย็น
หลังจากการขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของบุชในปี 2001 ซึ่งเป็นปีเดียวกันที่สหรัฐอเมริกาได้ถูกโจมตีจากกลุ่มขบวนการก่อการร้ายที่ตึก World Trade Center ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางการค้าที่เด่นชัดของสหรัฐอเมริกาและเป็นเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐที่ได้รับจากกลุ่มขบวนการก่อการร้าย ทำให้รัฐบาลสหรัฐในขณะนั้นที่นำโดย ประธานาธิบดีบุช ได้มีนโยบายหลักในการทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย (War On Terror) ไปทั่วโลก ซึ่งในขณะเดียวกันก็ได้ส่งผลกับเวทีพหุภาคีที่สหรัฐฯได้มีปฏิสัมพันธ์อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยคือ สหรัฐได้ดำเนินการในทุกครั้งที่มีการประชุม APEC  ประธานาธิบดีบุชและรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐจะเข้าร่วมการประชุม ARF ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 เพื่อเป็นเวทีพหุภาคีในการปรึกษาหารือในประเด็นเรื่องความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยสหรัฐฯเน้นเสนอต่อที่ประชุมไปที่เรื่องของการต่อต้านและการลดการแพร่ขยายของการก่อการร้ายหลังจากเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งในช่วงแรกของรัฐบาลบุชนั้นให้ความสำคัญกับเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านความมั่นคงเพียงอย่างเดียวยังไม่ได้ให้ความสนใจถึงเวทีพหุภาคีในด้านเศรษฐกิจมากนัก เพราะสหรัฐฯมองว่าเวทีพหุภาคีในด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นเป็นเพียงเวทีการหารือที่ได้ความหมายไม่มีผลประโยชน์ที่จับต้องได้ให้สหรัฐฯ ซึ่งท่าทีเช่นนี้ของรัฐบาลบุช ทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์จากบรรดานักวิชาการกันอย่างกว้างขวาง พวกเขาเห็นว่าอเมริกาล้มเหลวในการให้ความสำคัญและเข้าใจสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดที่มีขนาดใหญ่[7]
จากคำวิจารณ์ต่างๆและความยืดเยื้อของการเจรจาการค้าพหุภาคีระดับโลก ภายใต้องค์การการค้าระหว่างประเทศ ในรอบโดฮาซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศระดับโลก และสภาพความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจที่ได้รับสั่งสมมาจากสมรภูมิต่างๆตั้งแต่ยุคสงครามเย็นเป็นต้นมาจนถึงสงครามอิรักครั้งที่สอง ทำให้ สหรัฐฯหันไปให้ความสนใจกับ รูปแบบความร่วมมือและการบูรนาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่เกิดขึ้นทั่วโลกเพื่อจะหาช่องทางในการเพิ่มความมั่งคั่งให้กับตนเองรวมถึงแพร่กระจายค่านิยมแบบอำนาจอ่อนโดยเฉพาะแนวนโยบายทางความมั่นคงของตนให้แทรกซึมไปในเวทีพหุภาคีต่างๆทั่วโลกรวมถึงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ของสหรัฐฯก็ถือเป็นการสร้างขีดความสามารถในกับตนเองตามแนวความคิดทฤษฏีในการร่วมมือส่วนภูมิภาคของ สำนักภารกิจนิยมและภารกิจนิยมใหม่ ที่ถูกเสนอโดย David Mitrany Ernt Hass และ Karl Deutsch โดยเห็นว่าประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันจะได้รับผลประโยชน์ของแต่ละประเทศและผลประโยชน์ร่วมกันเป็นส่วนรวมหากมีการร่วมมือกันโดยเฉพาะความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะมีระดับความร่วมมือต่างๆที่ใกล้ชิดและสูงขึ้นเรื่อยๆจากการพัฒนาแบบตัวหารร่วมน้อย โดยเริ่มจาก การจัดตั้งเขตการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม และสหภาพเศรษฐกิจ และเมื่อได้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอย่างดีแล้ว ความร่วมมือนั้นจะเอ่อล้นไปสู่ความร่วมมือในด้านอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเมืองซึ่งจะนำไปสู่การเกิดของสหภาพเหนือรัฐที่มีเสถียรภาพสูงในการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพระหว่างรัฐสมาชิก[8]
การหวนกลับคืนสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียอีกครั้งในปลายวาระของประธานาธิบดีบุช(ผู้ลูก)
สหรัฐเริ่มมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินนโยบายต่างประเทศโดยหันมาให้ความสำคัญแก่สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยในช่วงปลายของวาระ ประธานาธิบดีบุช การประชุมสุดยอด APEC ประจำปี 2005 มีผู้นำจากประเทศอาเซียนเข้าร่วม 7 ประเทศที่เมืองปูซานเกาหลีใต้ ประธานาธิบดีบุชร่วมกับผู้นำชาติอื่นๆได้จัดทำหุ้นส่วนเสริมสร้างและยกระดับสหรัฐอเมริกา-อาเซียน เป็นการกระตุ้นให้มีความร่วมมือในเชิงลึกและกว้างมากขึ้นในเรื่อง เศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง ในพื้นที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดังที่กล่าวมาข้างต้น ต่อมา ในปี 2006 ประธานาธิบดีบุช ก็ได้มีการเสนอให้ส่งเสริมรูปแบบ ของ FTAAP (Free Trade Area of the Asia-Pacific) ในที่ประชุมของ APEC เพื่อต้องการที่จะฝั่งรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบพหุภาคีไว้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่ก็มีความเชื่องช้าในการดำเนินการให้บรรลุผลและเป็นรูปแบบความร่วมมือที่เปิดไม่ตอบสนองต่อความต้องการในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามากนัก และต่อมาจึงได้เข้าร่วม TPP (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement) ที่เป็นข้อตกลงหุ่นส่วนทางการค้าแบบพหุภาคีในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความหลากหลายในเรื่องของนโยบายทางเศรษฐกิจในปี 2008  การเข้าร่วม TPP ของสหรัฐฯนั้นเป็นผลมาจากความต้องการที่จะตอบโต้ความเจริญสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆแบบภูมิภาคนิยมในเอเชีย อย่าง CMI ASEAN+3+6 RCEP ที่สหรัฐมิได้มีส่วนร่วมและกำลังคุกคามผลประโยชน์และความชอบธรรมของระบอบ(ทางการเงิน)ของตน และพยายามสร้างรูปแบบของความตกลง TPP ให้เป็นผลประโยชน์แก่สหรัฐอเมริกามากที่สุดดังจะกล่าวต่อไป
การสานต่อนโยบายของบุชและการปักหมุดแห่งเอเชียของประธานาธิบดีโอบามา
การดำเนินการความร่วมมือในเวทีพหุภาคีต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของบุชนั้นสอดคล้องกับนโยบายและท่าทีของประธานาธิบดี โอบามา อย่าง Pivot to Asia ซึ่งต้องการปรับสมดุลในภูมิภาคเอเชียเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์แห่งชาติทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งขจัดความรู้สึกไม่มั่นคงต่อสหรัฐฯและพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้หมดไป ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฏีของสำนัก Realism และ Neo-Realism ที่ถูกเสนอโดย Hans Morgenthau ในประเด็นเรื่องผลประโยชน์แห่งชาติที่ทำให้เกิดการเมืองระหว่างประเทศและการขับเคลื่อนของปฏิสัมพันธ์ต่างๆให้ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของรัฐตนที่นิยามในเชิงอำนาจให้ได้มากที่สุดซึ่งแน่นอนปฏิสัมพันธ์ในการเมืองระหว่างประเทศเช่นนี้จะนำไปสู่การขัดแย้งกันระหว่างรัฐในเรื่องผลประโยชน์ที่ทับซ้อนกันอาจทำให้เกิดสภาวะความหวาดระแวงกันทางความมั่นคงของรัฐต่างๆในรูปแบบของ Security Dilemma นำไปสู่การเสริมสร้างขีดความสามารถทางทหารและการแข่งขันกันในการสะสมอาวุธซึ่งอาจนำไปสู่การปะทะกันด้วยความรุนแรงในที่สุดหากไม่มีการเจรจาตกลงการลดอาวุธระหว่างกัน ซึ่งในประเด็นที่จะรักษาให้เกิดสันติภาพในระบบระหว่างประเทศนี้ Kenneth Waltz ก็ได้เสนอว่ารูปแบบเดียวที่จะรักษาไว้ซึ่งสันติภาพในระบบระหว่างประเทศนั้นคือการถ่วงดุลอำนาจกันระว่างรัฐต่างๆในโลกนี้ ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่สหรัฐฯภายใต้การนำของโอบามากำลังดำเนินนโยบาย Pivot to Asia หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Rebalancing Asia โดยให้ความสำคัญกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในฐานะที่เป็นภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญของสหรัฐฯ นโยบายดังกล่าวได้ขยายออกเป็นประเด็น ที่สำคัญ เมื่อ นาย ลีออน พาเน็ตต้า รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ได้ชี้แจงให้ผู้นำประเทศในภูมิภาคนี้ให้เข้าใจถึงบทบาทของสหรัฐฯ จากการกล่าวสุนทรพจน์ Shangri-la Security Dialogue เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน 2012 โดยอธิบายถึงยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศฉบับใหม่ ที่สหรัฐฯ จะปรับสมดุล (rebalancing) ของตนในเอเชีย - แปซิฟิกอีกครั้ง โดยถือว่าเป็นความสำคัญเร่งด่วนสูงสุดที่จะเข้ามาผูกพันกับประเทศในภูมิภาคนี้ทั้งด้านความมั่นคงและความมั่งคั่ง โดยฝ่ายทหารจะเข้ามาสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าว ด้วยการปรับดุลกำลังในภูมิภาคนี้ใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการทหารของสหรัฐฯ ในภูมิภาค ซึ่งถือว่าเป็น จุดเปลี่ยนทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ และเน้นย้ำว่า ในศตวรรษที่ ๒๑ สหรัฐฯ ตระหนักดีว่าภูมิภาคนี้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเร็วที่สุดในโลก ทั้งจีน อินเดีย และอินโดนีเซีย ในขณะเดียวกันก็มีประชากรมากที่สุดในโลกมีกำลังทหารใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งมีงบประมาณด้านการทหารที่สูงที่สุดในโลก ในทศวรรษหน้านับแต่นี้ผู้นำสหรัฐฯ จะแสดงบทบาทในภูมิภาคนี้มากยิ่งขึ้นโดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเอเชีย – แปซิฟิก เพื่อสันติภาพ ความมั่งคั่งและความมั่นคงของทุกชาติในภูมิภาคนี้ โดยวิธีที่สหรัฐฯแสดงออกมาจากคำประกาศดังกล่าวคือการปิดล้อมและลดอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยการขยายอิทธิพลของตนทั้งในรูปแบบความร่วมมือทวิและพหุภาคีต่างๆกับประเทศในภูมิภาค โดยในรูปแบบพหุภาคีนั้นสหรัฐฯจะใช้ TPP ในการความเชื่อมโยงที่จะไม่ตัดขาดกันระหว่างภูมิภาคอเมริกาเหนือและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงพยายามส่งเสริมคุณค่าในทางการเมืองและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเข้าไปในภูมิภาคนี้อีกด้วยโดยจะกล่าวถึงเผชิญหน้ากันของสถาปัตยกรรมโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐฯและจีนในหัวข้อต่อไป[9]
การแข่งขันในการแผ่ขยายอิทธิพลและการครอบงำในเวทีพหุภาคีต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ระหว่างสหรัฐและจีน (ทศวรรษที่ 90-ปัจจุบัน)
นโยบายของจีนต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกา
          หลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ซึ่งทำให้สถานะของจีนในการเป็นตัวกลางระหว่างสองมหาอำนาจโลก คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตที่ต้องสิ้นสุดลง และรู้ตัวว่าเป็นศัตรูหลักรายต่อไปของสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จีนจะต้องกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสร้างอิทธิพลไว้ถ่วงดุลอำนาจกับ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1993 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้มีมติเห็นชอบแนวคิดของเติ้งเสี่ยวผิงเรื่อง เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม” (Socialist Market Economy) และใช้แนวคิดดังกล่าวเป็นหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยเหตุนี้จีนจึงเห็นว่าการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะเอื้อให้จีนสามารถพัฒนาประเทศต่อไปได้ และการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียเมื่อ ค.ศ. 1997 การสิ้นสุดอำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต (Suharto) แห่งอินโดนีเซียในปีถัดมาทำให้จีนอาศัยโอกาสดังกล่าวในการแสดงบทบาทเชิงสร้างสรรค์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งยังพยายามเข้ามาแสดงบทบาทนำในอาเซียน (ASEAN) แทนที่อินโดนีเซียอีกด้วย
Michael A. Glosny ได้จำแนกรูปแบบการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่
(1) การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการที่จีนให้เงินกู้และเงินช่วยเหลือแก่ประเทศที่ประสบวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ ค.ศ. 1997 การเป็นผู้นำหลักในการจัดทำ CMI รวมทั้งยังยืนยันที่จะไม่ลดค่าเงินหยวนเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมต่อเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization –WTO) ของจีนจะไม่ส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อนบ้าน ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2000 นายกรัฐมนตรีจูหรงจี (Zhu Rongji) ของจีนจึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area – ACFTA) แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจีนที่จะค้าขายอย่างเต็มที่กับคู่ค้าที่สำคัญอย่างประเทศอาเซียนและเป็นการบุกเบิกตลาดใหม่ที่ไร้การกีดกันทางภาษีของจีนอีกด้วย โดยที่จีนยังได้ให้ความเอื้อเฟื้อเป็นพิเศษแก่ประเทศที่ยังคงมีศักยภาพในการแข่งขันต่ำเช่น ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม อีกด้วย
(2) การส่งเสริมความร่วมมือทางการเมือง โดยตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา จีนได้แสวงหาความร่วมมือในระดับพหุภาคีอย่างแข็งขัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation – APEC) การประชุมอาเซียนว่าด้วยความมั่นคง (ASEAN Regional Forum – ARF) การประชุมอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three – APT) เป็นต้น และที่สำคัญก็คือ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 จีนได้ลงนามในสนธิสัญญามิตรไมตรีและความร่วมมือ (ASEAN’s Treaty of Amity and Cooperation – TAC) ซึ่งเป็นการยืนยันว่าจีนจะดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศในอาเซียนที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่วางอยู่บนหลักการของการเคารพในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม และบูรณภาพทางอาณาเขตของกันและกัน การไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน การระงับข้อพิพาทโดยสันติ และการไม่ใช้กำลังต่อกัน
(3) การแสดงจุดยืนด้านการทหารอย่างสร้างสรรค์ จีนยังคงมีข้อพิพาทเรื่องหมู่เกาะ สแปรตลีย์ (The Spratly Islands) ในทะเลจีนใต้กับอีก 4 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ เวียดนาม บรูไน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ การที่จีนใช้กำลังเข้ายึดครองแนวหินโสโครกมิสชีฟ (Mischief Reef) เมื่อ ค.ศ. 1995 ทำให้หลายประเทศต่างพากันมองดูจีนด้วยความไม่ไว้วางใจ ด้วยเหตุนี้จีนจึงพยายามปรับภาพลักษณ์ของตนเองให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์มากขึ้น โดยในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2002 จีนและประเทศคู่กรณีพิพาทได้ลงนามในแถลงการณ์ที่เรียกว่า “The Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea” ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่ได้ทำให้กรณีพิพาทสิ้นสุดลง หากแต่ก็เป็นการวางแนวทางในการปฏิบัติ (code of conduct) เพื่อไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างกันในอนาคต นอกจากนี้จีนยังได้แสดงความโปร่งใสด้านการทหารด้วยการจัดทำสมุดปกขาวว่าด้วยการป้องกันประเทศ (Defense White Paper) ทุกๆ 2 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1998 เป็นต้นมา
(4) การแสวงหาอิทธิพลผ่านการใช้อำนาจอย่างอ่อน (soft power) ไม่ว่าจะเป็นการที่จีนพยายามแสดงตัวว่า รูปแบบการพัฒนาของจีนที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าโดยที่ยังรักษาโครงสร้างทางการเมืองการปกครองแบบเดิมเอาไว้ได้นั้นสามารถจะเป็นแบบอย่างให้กับประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม ที่ยังปกครองในระบอบเผด็จการได้ นอกจากนี้จีนยังได้มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศกลุ่มอาเซียนอีกด้วย[10]
รูปแบบการดำเนินนโยบายที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สะท้อนความต้องการของจีนที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มองจีนว่าจะเป็นพลังที่นำไปสู่สันติภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านตามหลักการการทะยานขึ้นอย่างสันติของจีน ซึ่งท่าทีของจีนเช่นนี้ได้สร้างเสริมอิทธิพลให้แก่จีนเป็นอย่ามากและแน่นอนจะต้องมีผลกระทบกับมหาอำนาจคู่แข่งในภูมิภาคอย่างสหรัฐฯที่ในขณะนั้นกำลังวุ่นวายอยู่กับการทำสงครามการก่อการร้ายอยู่ รวมถึงการที่จีนให้การสนับสนุน CMI ในปี 1997 เป็นอย่างมาก ก็เป็นการคุกคามสถาปัตยกรรมทางการเงินที่ถูกครอบงำโดยสหรัฐฯ อย่าง IMF โดยตรงเพราะเป็นการคุกคามต่อระเบียบทางการเงินอย่าง Washington Consensus[11] ที่กำลังจะถูกแทนที่โดย Beijing Consensus ต่อประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  
จุดปะทะความร่วมมือพหุภาคีที่ถูกครอบงำโดยมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
RCEP VS TPP
RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) 
สาเหตุของการก่อตั้ง หลักการทั่วไป และจุดประสงค์ของ RCEP
จากความยืดเยื้อของการเจรจาการค้าพหุภาคีระดับโลก ภายใต้องค์การการค้าระหว่างประเทศ ในรอบโดฮาซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศระดับโลก ส่งผลกระทบให้รัฐต่างๆหันไปให้ความสนใจกับ รูปแบบความร่วมมือและการบูรนาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่เกิดขึ้นทั่วโลกมากขึ้น[12]  และในกลุ่ม ASEAN+6 ก็เช่นกัน เสริมกับปัจจัยภายในที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องการยกระดับของความร่วมมือ ASEAN+6 FTA ให้สูงขึ้นเป็น ASEAN++ ที่จะเปิดรับสมาชิกเข้าร่วมจากภาคยานุวัติในกรอบ RCEP มากขึ้นในอนาคตเพื่อการขยายเขตการค้าเสรีที่กว้างขึ้น[13] หลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ปี 2012 ได้มีการประกาศที่จะผลักดัน ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค” (Regional Comprehensive Economic Partnership – RCEP) เพื่อผลักดันรูปแบบการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนระหว่าง ASEAN+6 [14]ให้มีการพัฒนาและดำเนินการต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากการปรับปรุงเพิ่มเติมข้อตงลงต่างซึ่งกล่าวต่อไป  RCEP นั้นเป็นตลาดที่ใหญ่ หลากหลาย มั่งคั่ง มีทรัพยากรและเทคโนโลยีสูง มีความเกื้อกูลทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกมากกว่า AEC โดยไทยสามารถใช้เป็นฐานในการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันโดยเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายการผลิตและห่วงโซ่อุปาทานได้ และเนื่องจากความตกลงในกรอบ ASEAN+1s FTA กับประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย นั้นยังมีมีข้อจำกัดและจุดอ่อน ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควรแก่ ประเทศสมาชิกทั้งหมด และไม่เอื้อต่อการพัฒนาโครงข่ายการผลิตรวมถึงห่วงโซ่อุปาทาน เนื่องจากรูปแบบการเจรจาแบบทวิภาคีระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศต่างๆใน +6 จะทำให้การเจรจาถูกครอบงำอยากที่จะเจรจาต่อรองโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่างๆ จึงเห็นควรนำมาปรับปรุงแก้ไขในกรอบ RCEP ต่อไปเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการเจรจาต่อรองและความทันสมัยของความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ[15]
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP)  เป็นความตกลงเพื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับประเทศที่ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับอาเซียน โดยเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2012 ผู้นำอาเซียนและประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ (ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์) ได้ออกปฏิญญาร่วมเพื่อประกาศให้มีการเริ่มเจรจาอย่างเป็นทางการในปี 2013 และเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2015 ในการประชุม RCEP Summit ณ มาเลเซีย ผู้นำ RCEP ได้ออกแถลงการณ์ขยายระยะเวลาการเจรจาจากเป้าหมายเดิมปี 2015 เป็นปี 2016 RCEP นั้นพัฒนามาจากแนวคิด ASEAN+3/ASEAN+6 เป็นยุทธศาสตร์ AEC Blueprint ที่อาเซียนต้องการรักษาบทบาทในการเป็นศูนย์กลาง (ASEAN Centrality) ขับเคลื่อนการรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้นในภูมิภาคเพื่อขยายข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่มีอยู่ให้ครอบคลุมทุกประเทศเหล่านั้น โดยมุ่งหวังให้ตกลงกันสำเร็จก่อนสิ้นปี 2015 ทั้งนี้ RCEP จะครอบคลุม พื้นที่กว่าครึ่งหนึ่งของตลาดโลก และเป็นเกือบหนึ่งในสามของผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลก (theworld’s economic output) บนเงื่อนไขภาคีที่เปิดกว้างสำหรับประเทศต่างๆ ที่ต้องการเข้าร่วมในภายหลัง [16]
ความตกลง RCEP เป็นความตกลงแบบองค์รวมที่มีมาตรฐานสูง ประกอบไปด้วยการเปิดเสรีทั้งเชิงลึกและเชิงกว้างกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยจะครอบคลุมประเด็นทางการค้าที่กว้างขึ้น และตั้งเป้าหมายที่จะลดภาษีระหว่างกันให้ได้มากที่สุด รวมถึง การลดอุปสรรคทางการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน และจะเปิดกว้างในประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน อาทิ เรื่องการแข่งขัน และทรัพย์สินทางปัญญาเข้าไปในความตกลงด้วย รวมถึงเป็นการผนวกรวม ข้อตกลงการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่มีอยู่ในลักษณะ ASEAN+1 ให้กลายเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่กว้างขึ้นในระดับภูมิภาคที่รวมอินเดีย ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ด้วยแนวทางวิถีอาเซียน (ASEAN way) ซึ่งทำให้วัตถุประสงค์หรือข้อผูกพันใดๆ ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการฉันทามติ [17]
ขณะเดียวกันความแตกต่างทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ทำให้ RCEP มีกลไกที่ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ โดยให้ความสำคัญกับการลดช่องว่างของการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเชื่อมโยงเชิงกายภาพ เชิงสถาบัน ตลอดจนผูกพันวิถีชีวิตของผู้คนเข้าหากันมากขึ้น จะเห็นได้ว่าความตกลง RCEP นั้นจะเน้นไปในประเด็นทางด้านเศรษฐกิจเป็นหลักและพยายามคงรูปแบบเดิมของ ASEAN ไว้ที่จะเน้นในเรื่องของเศรษฐกิจเป็นหลักและหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นทางการเมืองที่มักจะตกลงตามหลักฉันทามติได้ยาก และจีนก็ไม่ต้องการให้นำประเด็นเรื่องทะเลจีนใต้เข้ามาอยู่ใน RCEP เช่นกันเนื่องจากไม่ต้องการให้เป็นประเด็นระหว่างประเทศและกระทบต่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน RCEP
ถึงกระนั้นก็ยังมีวาระซ้อนเร้นทางการเมืองระหว่างประเทศของประเทศมหาอำนาจใน RCEP อยู่บ้างเช่น การสนับสนุน RCEP ของจีนที่ต้องการให้เป็นรูปแบบความตกลงที่รักษาดุลอำนาจทางเศรษฐกิจในภูมิภาคกับ TPP  
ส่วนญี่ปุ่นที่พยายามขัดขวางอิทธิพลและการครอบงำทางเศรษฐกิจของจีนในภูมิภาค โดยสนับสนุนการขยายรูปแบบของความร่วมมือ ASEAN + 6 เสมอมาเพื่อลดทอนอิทธิพลของจีนไม่ให้มีการครอบงำความร่วมมือจากจำนวนรัฐสมาชิกที่มีมากขึ้นและมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจเช่นกัน อย่างอินเดียและออสเตรเลีย[18]
 ส่วนประเทศกลุ่มอาเซียนก็จะได้ประโยชน์จากการเป็นกลุ่มประเทศที่มีความสามารถและความเข้มแข็งในการเจรจาต่อรองกับมหาอำนาจในความตกลงได้มากขึ้นเพื่อไม่ให้ตนเสียเปรียบ รวมถึงการขับเคลื่อนความตกลงให้เป็นไปในรูปแบบ ASEAN WAY แต่ก็อาจแลกมาซึ่งความเชื่องช้าและอุปสรรค์ต่อการขับเคลื่อนความตกลงในการบรรลุผล
  
ข้อตกลงต่างๆที่พิจารณาและตกลงไปแล้วใน RCEP
            ในเดือน พ.ย. 2011 ผู้นำอาเซียนได้รับรองเอกสารกรอบอาเซียนสำหรับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะจัดทำความตกลง RCEP โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง (ASEAN Centrality) ในการขับเคลื่อนการรวมกลุ่มของภูมิภาค
ในเดือน ส.ค. 2012 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและประเทศ+6 รับรองเอกสารว่าด้วยหลักการทั่วไปและวัตถุประสงค์ของการเจรจา RCEP
ในเดือน พ.ย. 2012 ผู้นำอาเซียนและประเทศ+6 ได้ออกร่างปฏิญญาร่วม ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ว่าด้วยการประกาศให้เริ่มการเจรจา RCEP ในปี 2013 และแล้วเสร็จในปี 2015
หลังจากนั้นก็มีการประชุม คณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP (TNC) 14 ครั้ง และการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก 4 ครั้ง
ในเดือน ส.ค. 2015 มีการประชุม RCEP Ministerial Meeting ครั้งที่ 3 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซียรัฐมนตรี RCEP ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับข้อกำหนดและหลักการสำหรับการเปิดตลาดสินค้าเบื้องต้น (Modality for Initial Tariff Offers) ซึ่งทำให้ประเทศสมาชิกบรรลุข้อตกลงหลักการสำคัญของการเปิดตลาดครบทั้ง 3 ด้าน คือ การค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน และมอบหมายให้คณะกรรมการเจรจาการค้า (TNC) เร่งเจรจารายละเอียดทางเทคนิคและแลกเปลี่ยนรายละเอียดของข้อเสนอการเปิดตลาดทั้ง 3 ด้าน  
ในเดือน พ.ย. 2015 ผู้นำ RCEP ได้ออกแถลงการณ์ร่วม “Joint Statement on RCEP Negotiations” ขยายระยะเวลาการเจรจาเป็นภายในปี 2016 ในการประชุม RCEP Summit ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย[19]
การประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2  เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2016 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีการเร่งหาข้อสรุปประเด็นการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่จะขับเคลื่อน RCEP ให้คืบหน้าและสามารถสรุปผลได้โดยเร็ว ตามที่ผู้นำได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ และรัฐมนตรีประเทศสมาชิกได้มอบหมายให้ คณะกรรมการเจรจาการค้าเร่งเจรจา RCEP ให้มีความคืบหน้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในการเจรจา RCEP-TNC ครั้งที่ 16ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 6 10 ธันวาคม 2016 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าอาจสามารถตกลงข้อบทเพิ่มเติม เช่น นโยบายการเเข่งขัน และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น โดยการเพิ่มเรื่องต่างๆเข้าไปในRCEP จะส่งผลให้ RCEP มีความสมบูรณ์ไม่ต่างไปจาก TPP[20]
RCEP นั้นมีกลไกการเจรจาในข้อตกลงต่างๆ  โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบในการจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้า RCEP หรือ “RCEP Trade Negotiating Committee” (RCEP-TNC) เพื่อเป็นกลไกหลักในการเจรจา ความตกลงฯต่างๆ 14 คณะดังนี้ [21]
(1) คณะทํางาน ด้านการค้าสินค้า (2) คณะทํางานด้านการค้าบริการ (3) คณะทํางานด้านการลงทุน (4) คณะทํางานด้านการแข่งขัน (5) คณะทํางานด้านทรัพย์สินทางปัญญา (6) คณะทํางานด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (7) คณะทํางานด้านกฎหมาย (8) คณะทํางานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(9) คณะทํางานย่อยด้านกฎของถิ่นกําเนิดสินค้า (10) คณะทํางานย่อยด้านพิธีการศุลกากรและการอํานวยความสะดวกทางการค้า (11) คณะทํางานย่อยด้านมาตรการอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (12) คณะทํางานย่อยด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (13) คณะทํางานย่อยด้านบริการการเงิน (14) คณะทํางานย่อยด้านบริการโทรคมนาคม
ซึ่งถ้าเรานำคณะทำงานต่างๆที่ต้องการสร้างรูปแบบของความตกลงที่คณะตนได้รับมอบหมายให้สำเร็จมาเปรียบเทียบกับรูปแบบของข้อตกลงของ WTO ก็จะเห็นว่ามีความตกลงที่ต้องการจะทำให้บรรลุผลนั้นคล้ายคลึงกันหลายประการ แต่ก็ยังมีความตกลงที่แตกต่างกันไปในบางประเด็นไม่ได้ถูกนำมาพิจารณาให้เกิดการบรรลุความตกลงใน RCEP อยู่อย่าง ความตกลงว่าด้วยสินค้าเกษตร ความตกลงสิ่งทอและเสื้อผ้า ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด ความตกลงว่าด้วยการประเมินราคาศุลกากร ความตกลงว่าด้วยการตรวจสอบก่อนส่งออก ความตกลงว่าด้วยวิธีดําเนินการออกใบอนุญาตนําเข้า ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง ความเข้าใจวาด้วยกฎและกระบวนการยุติข้อพิพาท ความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ความตกลงว่าด้วยการค้าเครื่องบนพลเรือน
เนื่องจากความตกลงดังกล่าวนั้นบางประเด็นได้รวมอยู่ในข้อตกลง FTA เดิมกับประเทศสมาชิกต่างๆแล้วประกอบกับความพยายามสร้างความกระทัดรัดและรูปแบบที่ปฏิบัติได้จริงใน RCEP จึงมิได้นำประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้งที่ทำให้การเจรจาการค้าพหุภาคีในระดับโลกที่ล้มเหลวมาเจรจาในกรอบ RCEP อีก เช่น ความตกลงว่าด้วยสนค้าเกษตร ความตกลงสิ่งทอและเสื้อผ้า ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด ซึ่งอาจสร้างปัญหาให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างประเทศผู้ที่ผลิตและมิได้ผลิตสินค้านั้นๆได้ รวมถึงบางประเด็นที่ประเทศในกรอบ RCEP มิได้มีการผลิตสินค้าตามความตกลงนั้นเช่น ความตกลงว่าด้วยการค้าเครื่องบนพลเรือน เป็นต้น[22]
เราจะเห็นได้ว่า RCEP นั้นมีฐานความร่วมมือที่มีฐานมาจาก ASEAN+6 ซึ่งเคยมีการตกลงในเรื่องการค้ามาบ้างแล้วจึงเป็นการง่ายแก่ประเทศต่างๆที่จะร่วมกันกำหนดข้อตกลงในความร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต ซึ่ง RCEP เองปฏิเสธไม่ได้ว่ามหาอำนาจที่ครอบงำความร่วมมือนี้คือจีน ซึ่งเป็นมหาอำนาจคู่แข่งของสหรัฐฯในการขยายอิทธิพลตนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจึงส่งผลให้เมื่อสหรัฐฯได้เข้าร่วม TPP ในปี 2008 และครอบงำรูปแบบความร่วมมือเพื่อคานอำนาจกับสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจที่ถูกครอบงำโดยจีนอย่าง RCEP ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

TPP (Trans Pacific Partnership Agreement )
สาเหตุของการก่อตั้ง หลักการทั่วไป และจุดประสงค์ของ TPP

ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP เริ่มมาจากการเจรจา  Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement  หรือ TPSEP/P4 โดย 4 เขตเศรษฐกิจ คือ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ชิลี และ บรูไน ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าระหว่างสี่ประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีความหลากหลายในเรื่องของนโยบายทางเศรษฐกิจที่สรุปผลและลงนามการเจรจาได้ในปี 2005 ต่อมาในปี 2008 ก็ได้มีประเทศสมาชิกสนใจเข้าร่วมเจรจาสร้างความตกลงที่กว้างขึ้น คือ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ ชิลี เปรู เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น บรูไน มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของ GDP โลก ทั้งนี้ทำให้ TPP เป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก สมาชิกต่างๆได้ลงนามใน ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP ในปี 2016 ณ เมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ และในปัจจุบันก็อยู่ในขั้นตอนการให้สัตยาบันในประเทศสมาชิกต่างๆเพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้แม้สหรัฐฯได้ถอนตัวออกไปจากความร่วมมือแต่ประเทศ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยังคงพยายามให้ TPP เดินหน้าต่อไป [23]
ความตกลง TPSEP (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement) ที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น TPP (Trans Pacific Partnership Agreement) มีสาเหตุของการจัดตั้งมากจาก ความยืดเยื้อของการเจรจาการค้าพหุภาคีระดับโลก ภายใต้ WTO ที่ตกลงกันไม่ได้รัฐต่างๆจึงได้หันไปแสวงหารูปแบบของความร่วมมือแบบภูมิภาคมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่คล้ายคลึงกับ RCEP ที่ได้เสนอไว้ข้างต้น
การที่สหรัฐอเมริกาได้มาเข้าร่วม TPP  ในปี 2008 นั้น เป็นผลมาจากความต้องการที่จะตอบโต้สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆแบบภูมิภาคนิยมในเอเชีย อย่าง CMI ASEAN+3 ที่สหรัฐมิได้มีส่วนร่วมและกำลังคุกคามผลประโยชน์และและความชอบธรรมของระบอบ(ทางการเงิน)ของตน โดยมีการตอบโต้ในรูปแบบความร่วมมือทิวภาคีที่มีการจัดทำเขตกการค้าเสรีกับประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์อย่างสิงคโปร์และไทยในปี 2002 และ2003 ต่อมาในปี 2006 ประธานาธิบดีบุช ก็ได้มีการเสนอให้ส่งเสริมรูปแบบ ของ FTAAP ในที่ประชุมของ APEC เพื่อต้องการที่จะฝั่งรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบพหุภาคีไว้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก แต่ก็มีความเชื่องช้าในการดำเนินการให้บรรลุผลและเป็นรูปแบบความร่วมมือที่เปิดไม่ตอบสนองต่อความต้องการในผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามากนัก ต่อมาจึงได้เข้าร่วม TPP ในปี 2008 ในช่วงก่อนสิ้นสุดวาระของประธานาธิบดี บุช และพยายามสร้างรูปแบบของความตกลงที่เป็นผลประโยชน์แก่สหรัฐอเมริกามากที่สุดดังจะกล่าวต่อไป[24] ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและท่าทีของประธานาธิบดี โอบามา อย่าง Pivot to Asia ซึ่งต้องการปรับสมดุลในภูมิภาคเอเชียเสียใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของสหรัฐอเมริกา อย่างการปิดล้อมและลดอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และ TPP นั้นจะเป็นรูปแบบความเชื่อมโยงที่จะไม่ตัดขาดกันระหว่างภูมิภาคอเมริกาเหนือและเอเชียตะวันออก รวมถึงพยายามส่งเสริมคุณค่าในทางการเมืองและเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเข้าไปในภูมิภาคนี้ด้วย
ความตกลง TPP ต้องการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ขยายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก สนับสนุนการสร้างและรักษางาน เสริมสร้างนวัตกรรม ผลผลิต และความสามารถในการแข่งขัน ยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความยากจนระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงส่งเสริมเรื่องความโปร่งใส ธรรมาภิบาล การปกป้องแรงงานและสิ่งแวดล้อม พยายามลดการกีดกันทางการค้าในรูปแบบที่เป็นภาษีและไม่ใช่ภาษี เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกขยายตลาดส่งออกจากเขตการค้าเสรี กระตุ้นการลงทุนระหว่างกัน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบเศรษฐกิจ สร้างความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเพื่อบรรเทาความรุนแรงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และการสร้างกลไกในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติในภูมิภาคที่ต้องการให้มีสภาพแวดล้อมที่เปิดและเสรีสำหรับการค้าและการลงทุน เน้นการจัดซื้อขายระหว่างภาคีภายในเขตความร่วมมือ[25]
บนพื้นฐานของรูปแบบการบูรนาการทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพสูงเข้มงวดครอบคลุมหลายประเด็นที่มีผลต่อการเปิดเสรีในมุมมองของสหรัฐอเมริกา ตามที่สหรัฐอเมริกาเคยใช้ในรูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบทวิภาคีกับประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์มาก่อน เช่น สิงคโปร์ และไทยซึ่งจะมีเงื่อนไขที่เข้มงวดและมักถูกเอาเปรียบในบางประการ เช่น เงื่อนไขที่ต้องการให้ให้ประเทศไทยต้องเข้าร่วมการทำสงครามต่อกลุ่มก่อการร้ายกับสหรัฐ ในข้อตกลง FTA US-THAI ปี 2003 หลังจากที่อเมริกาเข้ามาร่วมในข้อตกลงก็พยายามทำให้ข้อตกลง TPP นี้เป็นลดความเสียเปรียบของอเมริกาในการผลิตสินค้า พยายามทำให้ข้อกำหนดใน TPP เอื้อกับผลประโยชน์ของอเมริกาต้องการและได้เปรียบ เช่น การค้าบริการ การลงทุนในสาขาการเงิน และการจัดซื้อจัดจ้างระหว่างภาครัฐภายในความตกลง เป็นต้น[26]
ข้อตกลงต่างๆที่พิจารณาและตกลงไปแล้วใน TPP
 เป็นความตกลงเปิดเสรีทางเศรษฐกิจที่มีมาตรฐานสูง ครอบคลุมทั้งในด้านการเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยมีข้อตกลงต่างๆดังนี้
(1) การค้าสินค้า (2) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (3) กฎถิ่นกําเนิดสินค้า (4) การบริหารจัดการทางศุลกากรและการอํานวยความสะดวกทางการค้า (5) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (6 ) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (7) มาตรการเยียวยาทางการค้า (8) การลงทุน (9) การบริการข้ามพรมแดน (10) บริการด้านการเงิน (11) การเคลื่อนย้ายนักธุรกิจ (12) โทรคมนาคม (13) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (14) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (15) นโยบายการแข่งขัน (16) รัฐวิสาหกิจ (17) ทรัพย์สินทางปัญญา (18) แรงงาน (19) สิ่งแวดล้อม (20) ความร่วมมือและการเสริมสร้างศักยภาพ (21) ความสามารถในการแข่งขันและการอํานวยความสะดวกทางธุรกิจ (22) การพัฒนา (23) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (24) ความสอดคล้องของกฎระเบียบ (25) ความโปร่งใสและการต่อต้านการคอร์รัปชั่น (26) การบริหารจัดการและสถาบัน (27) การระงับขอพิพาท[27]
ซึ่งถ้าเรานำข้อตกลงต่างๆมาเปรียบเทียบกับรูปแบบของข้อตกลงของ WTO ก็จะเห็นว่ามีข้อตกลงที่คล้ายคลึงกันหลายประการ แต่ก็ยังมีความตกลงที่แตกต่างกันไปในบางประเด็นที่ไม่มีใน TPP คือการเปิดตลาด ความตกลงว่าด้วยสนค้าเกษตร ความตกลงว่าด้วยการตอบโต้การทุ่มตลาด ความตกลงว่าด้วยการตรวจสอบก่อนส่งออก ความตกลงว่าด้วยมาตรการปกป้อง ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ ความตกลงว่าด้วยการค้าเครื่องบนพลเรือน เนื่องจากข้อตกลงเหล่านี้ได้ถูกครอบคลุมอยู่ในข้อตกลงการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอยู่แล้วจึงมีการลดขั้นตอนต่างๆเกี่ยวกับการส่งออกลงและยังมีประเด็นใหม่ๆที่ก้าวหน้าขึ้นไปมากจากข้อตกลงของ WTO[28]
ประเทศสมาชิกในกลุ่ม TPP จะได้รับการลดภาษีหรือได้รับการยกเว้นภาษีการนำเข้าสินค้าต่างๆ ตามแต่ละเงื่อนไขของสินค้าในแต่ละประเภท เช่น รถยนต์และส่วนประกอบ โดยอัตราภาษีการนำเข้าจะลดลงไปอยู่ที่ 0% โดยจะค่อยๆ ปรับลงมาภายใน 30 ปี ด้านสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรซึ่งเป็นประเภทสินค้าที่มีการกีดกันทางการค้าค่อนข้างสูงในหลายประเทศนั้น ทางญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะค่อยๆ เพิ่มโควตาการนำเข้าข้าวจากประเทศสมาชิกในกลุ่ม TPP ในแต่ละปีให้มากขึ้น ข้อตกลงยังครอบคลุมในเรื่องของการสร้างกฎระเบียบการค้าและการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน และสิ่งแวดล้อมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยประเทศสมาชิกในกลุ่ม TPP ต้องนำมาตรฐานแรงงานตามอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) มาบังคับใช้ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวนี้จะกดดันประเทศกำลังพัฒนา ในด้านการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญานั้นได้มีการพูดถึงสิทธิบัตรยา โดยในข้อตกลง TPP คาดว่าระยะเวลาการห้ามไม่ให้เปิดเผยข้อมูลการทดลองยาในกลุ่มชีวภาพตัวใหม่จะลดลงเหลือ 8 ปี ทำให้บริษัทยาในสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับการแข่งขันมากขึ้นและอาจทำให้ราคายาถูกลง ในขณะที่ราคายาในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นประเทศกลุ่มสมาชิกที่ไม่เคยมีเงื่อนไขดังกล่าวมาก่อน จะต้องเผชิญกับราคายาที่แพงขึ้นและอาจเข้าถึงยาได้ช้าลง สำหรับการเปิดเสรีภาคบริการยังเปิดโอกาสให้มีการใช้หลัก Negative list approach (การใช้วิธีการระบุเฉพาะสาขาบริการหรือกิจกรรมที่ไม่ต้องการเปิดหรือมาตรการที่ยกเว้น) ได้อยู่ นอกจากนี้ ข้อตกลง TPP ยังได้มีกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ เช่น ห้ามไม่ให้บริษัทบุหรี่ฟ้องร้องรัฐบาลในกลุ่มประเทศ TPP ในกฎหมายด้านการป้องกันการสูบบุหรี่ เป็นต้น[29]

APEC VS EAS
APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation)
เกิดจากการจัดการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC: Asia-Pacific Economic Cooperation ) ครั้งแรกที่กรุงแคนเบอร์ราในปี ค..1989 โดยมีประเทศเข้าร่วมประชุม 12 ประเทศคือ 6 ประเทศอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นเกาหลีใต้ อเมริกา และแคนาดา
วัตถุประสงค์ของ APEC
เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าในย่านเอเชียแปซิฟิก การพัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย อีกทั้งสนับสนุนให้การเจรจาการค้าให้ประสบผลสำเร็จ ขยายความร่วมมือในสาขาเศรษฐกิจที่สนใจร่วมกัน ลดอุปสรรคทางการค้าการบริการและการลงทุนระหว่างกัน
หลักการของ APEC
ต้องการทำให้เห็นเป็นเวทีปรึกษาหารือ เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน สร้างการรวมกลุ่มการค้าแบบเปิด ไม่กีดกันประเทศนอกกลุ่ม ไม่เป็นอุปสรรคแก่กลุ่มภูมิภาคอื่นประโยชน์ที่ให้แก่ประเทศสมาชิกเอเปคก็จะให้แก่ประเทศอื่นด้วย
การตัดสินใจภายในกลุ่มนั้นใช้หลักฉันทามติ คือความเห็นพ้องของประเทศสมาชิก มีหลักผลประโยชน์ร่วมกันโดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของสมาชิก ความร่วมมือแบบเปิดของ APEC นี้ สอดคล้องกับแนวคิดสานักเสรีนิยม ที่ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพราะไม่เพียงจะนาไปสู่การพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจและส่งผลให้มีความสัมพันธ์ทางการเมืองใกล้ชิดกันเพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่ม APEC
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ 2 ที่เมือง โบกอร์ อินโดนีเซียเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของกลุ่ม APEC เพราะเป็นการกำหนดทิศทางความร่วมมือที่ชัดเจนกว่าเดิม APEC ไม่เป็นเพียงเวทีสาหรับการปรึกษาหารือด้านเศรษฐกิจเท่านั้น การประกาศปฏิญญา bogor แสดงเจตนารมณ์ที่จะให้มีการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและกำหนดเป้าหมายให้ประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วเปิดเสรีภายในปี 2015 ประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนาเปิดเสรีตามภายในปี 2020
ในการประชุมที่โอซากาปี 1995 ได้มีการประกาศปฏิญญาโอซาก้า กำหนดวาระการปฏิบัติเพื่อสานต่อเป้าหมายปฏิญญาโบกอร์ โดยกำหนดหลักการสำคัญหลัก 3 หลักการคือ การเปิดเสรีการค้าและการลงทุน
การอำนวยความสะดวกต่อการเปิดเสรี ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและด้านเทคนิค
ในการประชุมที่ฟิลิปปินส์ในปี ค.. 1996 ที่ประชุมอนุมัติแผนปฏิบัติการโดยให้ แต่ละประเทศทำแผนปฏิบัติการของตนเองตามความสมัครใจในการลดภาษีเพื่อเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน ต่อมาได้จัดทำแผนงานร่วม เพื่อให้มีการไหลเวียนของสินค้าและการลงทุนระหว่างกันเป็นไปโดยสะดวกและยังมีการตกลงทำเอกสารแบบพิมพ์เขียว การพัฒนาขั้นตอนพิธีศุลกากร APEC เร่งเปิดเสรีให้เร็วขึ้นในสาขาตามความสมัครใจใน 9 ด้านสำคัญ ซื้อสินค้าและบริการเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม ประมง อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ พลังงาน ของเล่น อัญมนีและเครื่องประดับเคมีภัณฑ์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม
APEC นั้นยังมีข้อด้อยอยู่คือ ไม่มีข้อผูกมัดประเทศใดๆในการปฏิบัติตาม มติ หรือ ปฏิญญาใดๆ ไม่มีอำนาจบังคับใช้ หรือลงโทษผู้ฝ่าฝืน การเปิดเสรีทางการค้ามีความคืบหน้าน้อยแม้จะมีการประกาศปฏิญญา โบกอร์ และความร่วมมือที่เกี่ยวกับการเปิดเสรีให้เร็วขึ้น ตามรายสาขาด้วยความสมัครใจ EVSL ก็ไม่คืบหน้า ไม่สามารถมีบทบาทในการแก้ไขวิกฤติการณ์เศรษฐกิจต่างๆได้ ทำให้ APEC นั้นไม่ได้รับความสนใจมากนักที่จะเป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจพหุภาคีที่จะแสดงให้เห็นถึงผลประโยนช์ทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้แก่ประเทศสมาชิกนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหรัฐฯให้ความสนใจในการเข้าร่วม TPP และพยายามครอบงำข้อตกลงภายในความร่วมมือเพื่อผลประโยนช์ที่จับต้องได้สูงสุกแก่ประเทศของตน[30]
EAS (East Asia Summit)
                เป็นการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก เริ่มครั้งแรกที่ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ในปี 2005  ในการประชุมมีการพิจารณาหารือและมีความต้องการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออกและเรื่องที่กว้างขวางเป็นยุทธศาสตร์ของประชาคม ในทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยจะเน้นเรื่องเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมกันที่เห็นได้ชัดและส่งเสริมกัน พยายามรักษาสันติภาพเสถียรภาพและความเจริญในเอเชียตะวันออก โดยผู้นำต่างๆเห็นพ้องต้องกันเห็นความเป็นไปได้ในการพัฒนา East Asia Summit ให้เป็นประชาคมเอเชียตะวันออกตามแบบสหภาพยุโรปตามที่นายก Yukio Haoyama เคยเสนอไว้ในที่ประชุม East Asia Summit และมีการหารือเรื่องประเด็นต่างๆ เช่นความมั่นคงพลังงาน ความร่วมมือจัดการกับปัญหาไข้หวัดนก การต่อต้านการก่อการร้าย ลดการแพร่ขยายนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลี ความมั่นคงของการเดินเรือ และการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยรวม East Asia Summit ยังไม่มีความสำเร็จที่เป็นรูปประธรรมมากนับตั้งแต่การก่อตั้งในปี 2005
ในสมัยประธานาธิบดีบุชสหรัฐอเมริกาไม่ได้เป็นสมาชิก East Asia Summit และปฏิเสธที่จะลงนามในสนธิสัญญา TAC ซึ่งเป็นข้อกำหนดพื้นฐานก่อนการเข้าร่วมเช่นกัน เพียงแต่ติดตามพัฒนาการของ East Asia Summit เท่านั้นไปเน้นความสำคัญที่ ARF มากกว่า ในสมัยรัฐบาลโอบามา มีการปรับเปลี่ยนท่าทีที่ดีขึ้นต่อการประชุมพหุภาคีต่างๆในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยยังส่งเสริมและดำเนินการต่อของ หุ้นส่วนการเสริมสร้างและยกระดับสหรัฐ-อาเซียนโดยมีขยายแผนการปฏิบัติการไปอีก 5 ปี และยกระดับหุ้นส่วนไปสู่ระดับยุทธศาสตร์
ต่อมาในปี 2009 รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางฮิลลารี่ คลินตั่น ได้ลงนามในสนธิสัญญา TAC ในการประชุม ARF ที่ภูเก็ต และได้มีในการส่งสัญญาณว่าสหรัฐอเมริกาต้องการเข้าร่วม East Asia Summit และทุกกลุ่มภูมิภาคใหญ่ๆ ในเรื่องของความมั่นคง การเมืองและเศรษฐกิจตามที่ โอบามาได้พูดที่โตเกียวว่าต้องการจะเข้าร่วม East Asia Summit และในปี 2010 นางฮิลลารี่ คลินตั่นก็ได้เข้าร่วมประชุม East Asia Summit ในฐานะผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และพูดเน้นถึงความร่วมมือพหุภาคีต่างๆต้องมีบทบาทในการจัดการปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของภูมิภาค[31]
เราจะเห็นได้ว่าทั้งสี่สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจนั้นถูกครอบงำความตกลงและข้อกำหนดต่างๆให้เป็นไปตามความต้องการของมหาอำนาจอย่าง สหรัฐฯ และจีน ในสองสถาปัตยกรรมแรกอย่าง RCEP และ TPP เพื่อเป็นการขยายอิทธิพลและค่านิยมของตนให้ครอบงำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและเป็นการคานอำนาจซึ่งกันและกัน จะเห็นว่าข้อกำหนดต่างๆนั้นมีความคล้ายกันอยู่ด้วยเพื่อไม่ให้ถูกมองว่าความร่วมมือที่ตนครอบงำอยู่ด้อยค่ากว่าความร่วมมือของคู่แข่ง แต่ในสองสถาปัตยกรรมหลังคือ APEC และ EAS นั้นยังเป็นเวทีพหุภาคีที่มีความร่วมมือตามหลักการแบบหลวมอยู่ๆซึ่งต้องรอดูการพัฒนาต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะ APEC ที่เป็นสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจเดียวที่เหลืออยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่จะเอื้อต่อการครอบงำของสหรัฐฯเนื่องจาก TPP นั้นได้ถูกตัดขาดความเกี่ยวพันธ์กับสหรัฐฯเรียบร้อยแล้วหลังการขึ้นสู่อำนาจของประธานาธิบดีทรัมป์
  
ท่าทีของกลุ่มประเทศอาเซียน ต่อมหาอำนาจทั้งสอง รวมถึงความแตกต่างของท่าทีภายในกลุ่มประเทศ
จากท่าทีของจีนที่ให้ความสำคัญแก่ประเทศเพื่อนบ้านในการสร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศเหล่านั้นถึงรูปแบบการทะยานขึ้นอย่างสันติของจีน เพื่อลดความหวาดระแวงระหว่างกันไม่ให้เป็นอุปสรรค์ในความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และเราจะเห็นได้ว่าในปี 2000 นายกรัฐมนตรีจูหรงจี (Zhu Rongji) ของจีนได้เสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area – ACFTA) แสดงให้เห็นถึงความต้องการของจีนที่จะค้าขายอย่างเต็มที่กับคู่ค้าที่สำคัญอย่างประเทศอาเซียนและเป็นการบุกเบิกตลาดใหม่ที่ไร้การกีดกันทางภาษีของจีน โดยที่จีนยังได้ให้ความเอื้อเฟื้อเป็นพิเศษแก่ประเทศที่ยังคงมีศักยภาพในการแข่งขันต่ำ เช่น ลาว กัมพูชา พม่า และเวียดนาม โดยเน้นไปที่การเข้าไปวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานในประเทศให้เข้มแข็ง และเพื่อเป็นแสดงตัวว่า รูปแบบการพัฒนาของจีนที่ทำให้เศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าโดยที่ยังรักษาโครงสร้างทางการเมืองการปกครองแบบเดิมเอาไว้ได้นั้นสามารถจะเป็นแบบอย่างให้กับประเทศเหล่านี้ ที่ยังปกครองในระบอบเผด็จการได้ เช่นนี้จึงเป็นการแผ่ขยายค่านิยมและอิทธิของจีนไปในตัวด้วยที่จะฝังรากในประเทศเหล่านี้และเป็นฐานเสียงให้จีนในอาเซียน เมื่อมีการเจรจาหาทางออกในข้อพิพาทต่างๆที่มีความเกี่ยวเนื่องกับจีนและคอยถ่วงดุลกับฐานเสียงของสหรัฐอย่างกลุ่มประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนซึ่งเป็นพันธมิตรเก่าแก่ของสหรัฐฯในการต่อสู้กับภัยคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนี้ อย่าง ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ บรูไน ที่มีปฏิสัมพันธ์ไปในทางเดียวกับสหรัฐในการที่เป็นสมาชิกก่อตั้ง Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement (TPSEP) ที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Trans Pacific Partnership Agreement (TPP) ที่ถูกสหรัฐเข้าครอบงำในปี 2008 แต่ในพักหลังเองเวียนนามก็ได้เอนเข้าสู่สหรัฐมากขึ้นหลังจากมีความเห็นตรงกันในการเข้าร่วม TPP และปัญหาในทะเลจีนใต้ที่พิพาทกับจีนมาเป็นเวลานาน ผลของการแบ่งฝักฝ่ายของกลุ่มประเทศอาเซียนที่เป็นฐานเสียงของมหาอำนาจทั้งสองเราจะเห็นได้ชัดในการเจรจาที่ไม่สำเร็จไม่มีการออก Joint Communique ใน Summit ของอาเซียนในปี 2012 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปีแห่งการก่อตั้งอาเซียน และ ในที่ประชุมForeign Minister Meeting ครั้งที่ 49 ของอาเซียนเมื่อปี 2016 ก็เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เกิดมาจากการหาทางออกในเรื่องของข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ไม่ได้บนพื้นฐานการคัดค้านและการต่อต้านของกลุ่มประเทศที่เป็นฐานเสียของมหาอำนาจทั้งสอง [32]
ผลกระทบต่อไทยจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ ที่มีความความสัมพันธ์กับเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ผลกระทบในทางการเมือง เศรษฐกิจ และท่าทีของไทยในเวทีระหว่างประเทศ
ในทางการเมืองประเทศไทยนั้น ประเทศไทยเป็นพันมิตรที่เก่าแก่ของสหรัฐ แต่ก็ต้องปรับสัมพันธ์กับจีนเมื่อสหรัฐถอนตัวออกไปจากภูมิภาคในช่วงที่พ่ายแพ้สงครามเวียดนาม แต่เมื่อสหรัฐกลับคืนสู่ภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อีกครั้งและพยายามมีส่วนร่วมในทุกเวทีพหุภาคีทำให้ไทยนั้นได้มหาอำนาจที่เป็นพันธมิตรเก่าแก่เข้ามาช่วยในการถ่วงดุลอำนาจไม่ให้ถูกเอาเปรียบและครอบงำปฏิสัมพันธ์จากจีน และสหรัฐเองก็ต้องการไทยเป็นหนึ่งในฐานเสียงที่คอยคัดค้านการครอบงำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของจีน โดยไม่ได้ให้ความสนใจมากแล้วว่าไทยจะปกครองในรูปแบบใดเห็นได้จากการตัดงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือประเทศไทยออกไปเพียงเล็กน้อยหลังเกิดรัฐประหารเมื่อปี 57 ซึ่งต่างจากการตัดขาดสัมพันธ์กับไทยในช่วงรัฐประหารปี 49 ในปี 2012 ที่ประธานาธิบดีโอบามาได้มาเยือนประเทศไทยและมีแถลงการณ์ร่วมถึงความสนใจที่ไทยจะเข้าร่วม TPP ซึ่ง หากในยุคนั้นไทยได้เข้าร่วม TPP ในทางการเมืองก็จะเกิดผลประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์ จะทำให้สหรัฐฯพอใจไทยก็จะเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯต่อไป แต่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับจีน เนื่องจากความตกลง TPP ถือเป็นกลไกและยุทธศาสตร์ต่างประเทศที่สหรัฐฯ นำมาใช้ในการปิดล้อมและถ่วงดุลการขยายอำนาจของจีนในภูมิภาค[33]
ในทางเศรษฐกิจนั้นไทยได้รับผลประโยชน์เต็มที่เนื่องจากเป็นประเทศที่ค้าขายได้ดุลจากสหรัฐฯประกอบกับการได้ FTA จากสหรัฐและ US-ASEAN FTA ในปี 2003 ยิ่งเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ไทย และหาไทยได้เข้าร่วม TPP ก็เท่ากับไทยจะมี FTA กับ 9 ประเทศ แต่หากวิเคราะห์ 9 ประเทศเหล่านี้จะเห็นได้ว่าเกือบทั้งหมดไทยมี FTA กับประเทศเหล่านี้อยู่แล้ว เช่นนี้ก็จะไม่ได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นมากนัก แต่ที่เหลือ 2 ประเทศ คือ ชิลีและสหรัฐฯ(หยุดชะงักไปจากการรัฐประหาร) ที่ไทยยังไม่มี FTA ด้วย สำหรับชิลีไทยค้าขายกับชิลีน้อยมากแต่อาจนำไปสู่การเปิดตลาดใหม่สำหรับไทย ส่วนผลประโยชน์ที่จะได้จาก FTA กับสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ไทยก็เคยเจรจา FTA ทวิภาคีกับสหรัฐฯมาแล้วในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ และมีหลายสาขาที่ไทยเสียเปรียบสหรัฐฯ แม้ว่าไทยอาจจะได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าบางตัวไปสหรัฐฯมากขึ้น แต่ก็อาจจะต้องแลกกับการที่ไทยจะต้องเปิดเสรีการค้าภาคบริการ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การลงทุน และการเชื่อมโยงการค้ากับมาตรฐานแรงงานและสิ่งแวดล้อม และหากไทยเข้าร่วมก็จะได้รับสิทธิประโยชน์ร่วมกันจากข้อตกลง เช่น การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบอย่างเสรี เขตการค้าเสรี จัดซื้อจัดจ้างระหว่างภาครัฐภายในความตกลง แต่ในข้อตกลงเรื่องภาษีการนำเข้ารถยนต์และส่วนประกอบในกลุ่ม TPP ที่จะทยอยปรับลดลงมาในระยะเวลา 30 ปี ซึ่งแม้จะค่อยๆ เอื้อประโยชน์ให้กับสมาชิก TPP แต่ในข้อบังคับการใช้วัตถุดิบภายในกลุ่มประเทศ TPP นั้น ญี่ปุ่นได้ขอให้ลดข้อบังคับการใช้วัตถุดิบภายในกลุ่มประเทศลง โดยได้สรุปให้มีการใช้วัตถุดิบภายในกลุ่มประเทศที่เพียง 45% โดยจะส่งผลดีต่อบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นและผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในไทย สิ่งเหล่านี้ก็มีข้อจำกัดที่เข้มงวดเช่นกันจึงต้องพิจารณาอย่างละเอียด และในมุมมองของภาคเอกชนผู้แทนคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เคยให้ข้อสังเกตกับกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2010 เนื่องในโอกาสเข้าพบรองปลัดกระทรวงฯ ว่าภาคเอกชนไทยโดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีความกังวลเกี่ยวกับ TPP เพราะจะทำให้การแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมสูงขึ้นมาก และจะทำให้มาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสูงขึ้นตามไปด้วย เช่น สิ่งแวดล้อม แรงงาน ซึ่งจะทำให้ภาคเอกชนไทยแข่งขันได้ยาก ขณะนี้ [34]
สรุป
จากที่ผู้เขียนได้นำเสนอมาข้างตนทั้งหมดจะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ของสหรัฐฯบนเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นมีอยู่เสมอมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นที่จะเห็นไปในทางด้านความมั่นคงเสียมากกว่าตามบริบทของสภาพความตึงเครียดระหว่างโลกสองค่าย และสมรภูมิหลักอย่างสงครามเวียดนาม ซึ่งทำให้สหรัฐฯต้องพ่ายแพ้และสูญเสียทรัพยากรของตนไปอย่างมากทำให้มีการถอนตัวออกไปในช่วงประธานาธิบดีนิกสัน และกลับมามีความสัมพันธ์กับเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงของบุช(ผู้พ่อ)ในเวที APEC และยกระดับเวทีพหุภาคีให้เป็น Summit ในปี 1992 โดย ประธานาธิบดีบิลคลินตัน การเข้าร่วม ARF ในปี 1994 ด้วยเหตุผลทางความมั่นคงและใช่เป็นเวทีส่งเสริมนโยบายการทำสงครามกับการก่อการร้ายต่อไป หุ้นส่วนเสริมสร้างและยกระดับสหรัฐอเมริกา-อาเซียนบนเวที APEC ในปี 2005 เข้าร่วม TPP ในปี 2008 ลงนามใน TAC ในปี 2009 และเข้าร่วม EAS ในปี 2010 ความสัมพันธืเหล่านี้แสดงให้เห็นว่างสหรัฐพยายามเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ทางความมั่นคงและความมั่งคั่งเสมอมาบนเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การดำเนินการเช่นนี้ของสหรัฐฯที่จะหาผลประโยชน์ร่วมกันในระดับภูมิภาคและแพร่กระจายความร่วมมือไปในทุกด้านก็สอดคล้องกับ แนวคิดทฤษฏีภารกิจนิยมและภารกิจนิยมใหม่ ตามที่ได้เสนอไว้ข้างต้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ สำนักสัจนิยม ในเรื่องของการขวนขวายผลประโยชน์แห่งชาติที่กลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์เช่นนี้นะระหว่างสหรัฐและเวทีพหุภาคีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงสองคลองกับ สำนักสัจนิยมใหม่ ในประเด็นของการถ่วงดุลอำนาจของตนในภูมิภาคนี้กับจีน ผ่านสถาปัตยกรรมต่างๆทั้งทางเศรษฐกิจและความมั่นคง เพื่อลดความรู้สึกไม่มั่นคงจากการเจริญเติบโตของอิทธิพลจีนในภูมิภาคนี้และรักษาคงไว้ซึ่งสันติภาพไม่ให้มีการลงไม้ลงมือเนื่องจากจะไปกระทบเส้นทางการค้าที่สหรัฐฯมีส่วนเกี่ยวของหลายเส้นทางในภูมิภาคนี้ รวมถึงพยายามแพร่ค่านิยมของตนให้เป็นที่ยอมรับในภูมิภาคเพื่อให้ประเทศเหล่านั้นเป็นฐานเสียงในการเจรจาในเวทีพหุภาคีที่สหรัฐฯไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องและคอยถ่วงดุลคานอำนาจกับจีนในกรณีที่จะดำเนินการใดๆที่เป็นการเพิ่มพูนอิทธิพลให้จีนจะเห็นได้ชัดในการประชุมที่ไม่สำเร็จไม่มีการออก Joint Communique ใน Summit ของอาเซียนในปี 2012 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 45 ปีแห่งการก่อตั้งอาเซียน และ ในที่ประชุม Foreign Minister Meeting ครั้งที่ 49 ของอาเซียนเมื่อปี 2016 เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างประเทศฐานเสียของสหรัฐฯและจีนที่ตกลงกันไม่ได้ในกรณีปัญหาในทะเลจีนใต้
หากเราจะประเมินผลประโยชน์ที่สหรัฐฯได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเวทีพหุภาคีที่เน้นไป ในทางเศรษฐกิจในช่วงปลายยุคสงครามเย็นและหลังยุคสงครามเย็นอย่าง APEC และ TPP ก็ยังไม่ได้แสดงให้เห็นถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯได้รับแบบจับต้องได้มากนักเนื่องจากการเป็น เวทีแบบเปิดไม่มีการบังคับใช้กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมใน APEC และการหยุดชะงักไปของ TPP ที่สหรัฐฯประกาศถอนตัวในสมัยประธานาธิบดี ทรัมป์  เนื่องจากประเทศและเวทีเหล่านี้เอาเปรียบสหรัฐฯเห็นได้การจากการขาดดุลทางการค้าที่สหรัฐถูกกระทำจากประเทศในเอเชีย
               




[1] ธนาสฤษฎิ์ สตะเวทิน. (2012) เอเชียอาคเนย์ : พัฒนาการเมืองและการต่างประเทศ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


[2] Ibid.,1
[3] Michael D. Swaine (2011) America's Challenge: Engaging a Rising China in the Twenty-First Century: Carnegie Endowment for International Peace
[4] Ibid.,1
[5] Policy Bulletin (2004) US Security Relations With Southeast Asia: A Dual Challenge: The Standley Foundation

[6] Ibid.,3
[7] Ibid.,3
[8] Ibid.,1
[9] Young-Chan Kim (2015) Chinese Global Production Networks in ASEAN RCEP vs. TPP: The Pursuit of Eastern Dominance p.19-37: Springer

[10] สิทธิพล เครือรัฐติกาล. (2008) นโยบายต่างประเทศของจีนต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคปฏิรูปเศรษฐกิจ สืบค้นข้อมูลได้ที่ kositthiphon.blogspot.com
[11] Washington Consensus  (ฉันทมติแห่งวอชิงตัน) เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดย จอห์น วิลเลียมสัน จากบทความเรื่อง “What Washington Means By Policy Reform” เขาต้องการประมวลชุดของนโยบาย ซึ่งบรรดาสถาบันผลิตความคิด ในนครวอชิงตัน ดี.ซี. มีความเห็น ร่วมกันว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสมสำหรับการปฏิรูปเศรษฐกิจ วิลเลียมสัน คัดสรรเฉพาะนโยบายที่มีผู้เห็นร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ โดยเจาะจงว่าจะใช้ในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในลาตินอเมริกาเท่านั้น จอห์น วิลเลียมสัน นำเสนอเมนูนโยบายอันประกอบด้วยนโยบาย 10 ชุดสำหรับการปฏิรูประบบเศรษฐกิจในลาตินอเมริกา  คือ นโยบายชุดที่หนึ่งว่าด้วยวินัยทางการคลัง นโยบายชุดที่สองว่าด้วยการจัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายรัฐบาล นโยบายชุดที่สามว่าด้วยการปฏิรูปภาษี นโยบายชุดที่สี่ว่าด้วยอัตราดอกเบี้ย นโยบายชุดที่หกว่าด้วยการเปิดเสรีด้านการค้าระหว่างประเทศ นโยบายชุดที่แปดว่าด้วยการถ่ายโอนการผลิตจากภาครัฐบาลไปสู่ภาคเอกชน นโยบายชุดที่สิบว่าด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ฉันทมติแห่งวอชิงตันฉบับ จอห์น วิลเลียม อันประกอบด้วยนโยบาย 10 ชุดดังที่กล่าวนี้ ถูกแปรสภาพเป็นนโยบายเศรษฐกิจโลก (Global Economic Policy)  ที่ถูกนำไปปรับปรุงและใช้เป็นแนวนโยบายหลักแก่ประเทศสมาชิกผู้กู้ยืมเงินจาก IMF อ้างอิง: รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2005) ฉันทมติวอชิงตัน: เอกสารประกอบการเรียน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[12] จุลชีพ ชินวรรโณ. (2016) ภูมิทัศน์เศรษฐกิจโลก วิกฤตและการท้าทายในศตวรรษ 21 : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[13] Jagannath P. Panda (2014) Strategic Analysis: Factoring the RCEP and the TPP: China, India and the Politics of Regional Integration p.50-67 Routledge.
[14] ASEAN WATCH (2013) อาเซียนเวทีประลองมหาอำนาจ ? : จุลสารจับตาอาเซียน ปีที่ 2 ฉบับที่ 1.
[15]วิศาล บุปผเวส. (2016 ) ผลกระทบของการจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจใน ภูมิภาค (RCEP) และกลยุทธ์การเจรจาที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทย : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ร่วมกับ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.
[16] สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (2015) การเจรจาความตกลงหุ่นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สืบค้นข้อมูลได้ที่ :http://www.thaifta.com/thaifta/Home/FTAbyCountry/tabid/53/ctl/detail/id/41/mid/480/usemastercontainer/true/Default.aspx
[17]  สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (2015) การเจรจาความตกลงหุ่นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สืบค้นข้อมูลได้ที่ : http://www.dtn.go.th/files/FTA/RCEP/rcep-start0259.pdf.
[18] C.Fred Bergsten (2007) China and Economic Integration in East Asia: Implication for the United States: Policy Brief 07-3.

[19] Ibid.,17
[20] ฐานเศรษฐกิจ (2016) รัฐมนตรี RCEP เร่งหารือสรุปผลการเจรจาการเปิดตลาดการเปิดเสรีการค้าบริการและการลงทุน ฉบับวันที่ 9/11/16: สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://www.thansettakij.com/2016/11/09/112750
[21] Ibid.,6
[22] สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (2012) ความตกลงที่สำคัญต่างๆ ภายใต้ WTO สืบค้นข้อมูลได้ที่: http://www.dtn.go.th/index.php/เวทีการเจรจาการค้า/item/ความตกลงต่างๆ-ภายใต้-wto.html

[23] USTR (2015) Summary of the Trans-Pacific Partnership AgreementAustralia and the Trans-Pacific สืบค้นข้อมูลได้ที่: https://ustr.gov/about-us/policy-offices/press-office/press-releases/2015/october/summary-trans-pacific-partnership

[24] Ibid.,19
[25] Ibid.,9

[26] Ibid.,19
[27] สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (2012) ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก สืบค้นข้อมูลได้ที่: http://www.dtn.go.th/index.php/forum1/tpp/item/ความเป็นมา-3.html?category_id=425
[28] สำนักอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (2012) ความตกลงที่สำคัญต่างๆ ภายใต้ WTO สืบค้นข้อมูลได้ที่: http://www.dtn.go.th/index.php/เวทีการเจรจาการค้า/item/ความตกลงต่างๆ-ภายใต้-wto.html
[29] วรดา ตันติสุนทร (2015)  Trans-Pacific Partnership (TPP): การเจรจาเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลกนิตยสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2015 สืบค้นข้อมูลได้ที่  www.scbeic.com/th/detail/product/1820
[30] Ibid.,12
[31] Ibid.,3
[32] Ibid.,3
[33] ประภัสสร์ เทพชาตรี (2011) Trans-Pacific Partnership หรือ TPP : ผลกระทบต่อไทย ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 6 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2554 สืบค้นข้อมูลได้ที่ www.drprapat.com/ Trans-Pacific Partnership หรือ TPP : ผลกระทบต่อไทย/

[34] ประภัสสร์ เทพชาตรี (2015) ไทยตกรถหรือไม่ ? สืบค้นข้อมูลได้ที่ http://www.drprapat.com/tpp-ไทยตกรถหรือไม่/

ความคิดเห็น