ASEAN กับการจัดการการก่อการร้าย

   การก่อการร้ายนั้นคือการกระทำที่ผิดกฎหมายในการใช้ความรุนแรงและการข่มขู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพลเรือน ในการแสวงหาจุดมุ่งหมายทางการเมือง ในอดีตการก่อการร้ายนั้นเกิดขึ้นหลายครั้งในเอเซียนโดยเกิดจากหลายสาเหตุและแรงจูงในการก่อการ เช่น ผลประโยชน์ของกลุ่ม อุดมการณ์ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ การแบ่งแยกดินแดน เป็นต้น กลุ่มก่อการต่างๆจะใช้วิธีการในการชักจูงพลเมืองให้มาเป็นแนวร่วมของตน โดยพลเมืองที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ มักเป็นพลเมืองที่ ขาดความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ ขาดการศึกษาและความความรู้ความเข้าใจถึงอุดมการณ์ต่างๆอย่างแท้จริง ขาดปัจจัยในการยังชีพ และ การถูกปฏิบัติจากรัฐอย่างไม่เท่าเทียมกับกลุ่มชนหรือบพลเมืองคนอื่นๆ เป็นต้น[1]

กลุ่มที่ก่อการร้ายในอาเซียนโครงสร้างและอุดมการณ์ของกลุ่ม
- Japanese Red Army
     เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่มีอุดมการณ์คอมมิวนิสต์หัวรุนแรงต่อต้านจักรวรรดินิยม และไซออนิสต์ ก่อตั้งโดย Fusako Shigenobu ในปี 1971 ที่เลบานอน หลังจากการสังหารหมู่ที่ สนามบิน Lod บางครั้งก็เรียกตัวเองว่า Arab JRA มีเป้าหมายที่จะโค่นล้มรัฐบาลญี่ปุ่นและสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับความต้องการที่จะเริ่มต้นการปฏิวัติโลก และได้ก่อการในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ หนึ่งครั้งและเป็นครั้งแรกของการก่อการร้ายข้ามชาติในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ คือเหตุการณ์ ในปี 1975 ที่เป็นวิกฤตการณ์จับกุมตัวประกันที่ตึก AIA ประเทศมาเลเซีย[2]
- Komando Jihad
      เป็นกลุ่มก่อการร้ายชาวอินโดนีเซียหัวรุนแรง เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 จนกระทั้งถูกปราบปรามโดยหน่วยรักษาความมั่นคงในช่วงกลางทศวรรษที่ 1980 รากฐานของกลุ่ม มีแนวคิดที่ยึดติดดารุลอิสลาม (โลกที่เน้นการตีความตามตัวอักษร จากคัมภีร์อย่างเดียว ไม่ยอมรับความแต่ต่างของกลุ่มชนอื่น) ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มหัวรุนแรงที่ต่อสู้เพื่อให้เกิดรัฐอิสลามในอินโดนีเซีย Damien Kingsbury ผู้เชียวชาญเรื่องการเมืองและความมั่นคงในเอเชียอาคเนย์ระบุว่ากลุ่มนี้ถูกจัดตั้งขึ้นโดย  บางส่วนของ หน่วยกองกำลังพิเศษ Kopassus ของอินโดนีเซีย[3]


- Laskar Jihad
      เป็นกลุ่มก่อการร้าย ชาวอินโดนีเซีย มีอุดมการณ์แบบ Islamist หัวรุนแรง ต่อต้าน คริสต์ศาสนา ก่อตั้งขึ้นและนำโดย Jafar Umar Thalib  ในปี 2000 Jafar Umar Thalib นั้นได้รับการฝึกอบรมใน Madrasahs ปากีสถาน และเคยต่อสู้ร่วมกับ Mujahadeen ในอัฟกานิสถาน สาเหตุในการก่อตั้งกลุ่มคือความขัดแย้งรุนแรงที่มีการปะทะกันระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในจังหวัด Maluku และ North Maluku ในปี 1999  ไม่นานหลังจากการสร้าง กลุ่ม Laskar Jihad มีการเปิดศูนย์รับสมัครผู้ร่วมขบวนการในจังหวัดต่างๆของอินโดนีเซีย ชาวมุสลิมที่เข้าร่วมส่วนใหญ่ มาจาก Java, Sumatra, South Sulawesi และ Kalimantan ส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานและนักศึกษา ปัจจุบันกองทัพอินโดนีเซียเชื่อว่ากลุ่มก่อการร้ายนี้ยุบตัวไปแล้ว[4]
- Abu Sayyaf
เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่มีอุดมการณ์เพื่อปฏิวัติให้เป็นแนวทาง Islamist และต้องการแบ่งแยกดินแดนเป็นรัฐอิสลามทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ ก่อการใน Mindanao และ Sulu islands หลังจากการปราบปรามของรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่หนักหน่วงโดยได้รับการสนับสนุนจาก รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในปี 2002 ทำให้สมาชิกกลุ่ม Abu Sayyaf  ลดจำนวนลงจากประมาณ 1,000 คน เหลือประมาณ 400 คน แต่ก็ยังก่อการต่อไปโดยไปจัดตั้งใหม่ที่เกาะ Basilan กลุ่ม Abu Sayyaf  นั้นมีสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่ม Moro Islamic Liberation Front (MILF) and JI Islamiyah ในการฝึกซ้อมและการร่วมก่อการ เช่น การวางระเบิดที่กรุงมะนิลาในปี 2003 [5][6]
- Jemaah Islamiyah
ต้นกำเนิดของเครือข่าย Jemaah Islamiyah เกิดในช่วงทศวรรษ 1960 ผู้ก่อตั้งคือ Abu Bakar baasyir และ Abdullah Sungkar โดยมีการเรียกร้องให้ใช้กฎหมายอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย ผู้ก่อตั้งทั้งสอง ถือว่าตัวเองเป็นทายาทของผู้ก่อตั้งขบวนการ Darul Islam movement ในอินโดนีเซียที่เคยต่อสู้กับจักรวรรดิดัตช์ในอดีต ในปี 1985 Abu Bakar baasyir และ Abdullah Sungkar เคยไปตั้งฐานที่มาเลเซียเพื่อช่วยส่ง ชาวอินโดนีเซียและมาเลเซียไปอัฟกานิสถานเพื่อสู้รบกับโซเวียต Abu Bakar baasyir และ Abdullah Sungkar ได้ร่วมฝึกกับกลุ่ม อัลเคด้า และก่อตั้ง Jemaah Islamiyah ในเวลาต่อมาคือปี 1993 [7]


ลำดับเหตุการณ์การก่อการร้ายของกลุ่มก่อการร้ายในอาเซียน
รวมเหตุการณ์การก่อการร้าย ระหว่างปี 1975-1985
การก่อการร้ายครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เกิดขึ้นในปี 1975 ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์การจับกุมตัวประกันที่ตึก AIA ที่ประเทศมาเลเซีย ก่อการโดยกลุ่ม Japanese Red Army ซึ่งตึก AIA นั้นเป็นตึกที่เต็มไปด้วยสถานทูตต่างประเทศหลายใจกลางเมืองกัวลาลัมเปอร์ พวกเขาจับ ตัวประกัน 50 คนรวมทั้งกงสุลอเมริกันและนักการทูตสวีเดน ผู้ก่อการร้าย JRA ต้องการให้รัฐบาลญี่ปุ่นปล่อยตัวสมาชิกของกลุ่มที่ประเทศญี่ปุ่น พวกเขาขู่ว่าจะฆ่าตัวประกันหากรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ได้ตอบสนองความต้องการของพวกเขา วิกฤติที่จบลงเมื่อห้านักโทษ JRA ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำญี่ปุ่น และผู้ก่อการของ JRA ก็ได้บินไปยังประเทศ ลิเบีย ซึ่งมีผู้นำเผด็จการอย่าง มูฮัมหมัด กัดดาฟี ที่มักสนับสนุนขบวนการก่อการร้ายอย่า PLO และ IRA[8]
ในปี 1976 ได้มีการโจมตีด้วยระเบิดในมัสยิด Nurul Iman ปาดัง ประเทศอินโดนนิเซีย มีผู้ต้องสงสัยคือ Timzar Zubil ซึ่งเป็นผู้นำของ Komando Jihad แต่ไม่สามารถจับกุมนาย Timzar ได้[9]
ในปี 1985 ก็ได้เกิดเหตุการณ์จี้เครื่องบิน DC-9 ที่อินโดนีเซีย ก่อการโดยกลุ่ม Komando Jihad เส้นทางจากเมืองปาเล็มบังไปเมดาน โดยมีการจี้เรียกร้องให้ปล่อยตัวสมาชิก Komando Jihad ที่ถูกขังอยู่ในประเทศอินโดนีเซียและสหรัฐอเมริกา รวมถึงเงินจำนวน 1.5 ล้าน USD และเครื่องบินที่จะใช้ไปยังปลายทาง แต่หนึ่งในผู้ก่อการถูกยิงโดยหน่วยคอมมานโด Kopassus ของอินโดนีเซีย และตัวประกันได้รับการปล่อยตัวโดยไม่เป็นอันตราย และสองผู้ก่อการยอมจำนน แต่พวกเขาถูกฆ่าโดยหน่วยคอมมานโด Kopassus บนเครื่องบินที่กำลังพาพวกเขากลับไปยังกรุงจาการ์ตา[10]

รวมเหตุการณ์การก่อการร้ายโดยกลุ่ม Abu Sayyaf  ระหว่างปี 1990-2000
4 เมษายน 1991 สองผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ ชาวอเมริกันถูกลอบสังหาร จากกลุ่มก่อการร้าย Abu Sayyaf  ที่โจมตีโดยระเบิดใน เมือง Zamboanga[11]
11 สิงหาคม 1991 ในช่วงคืนสุดท้ายของการหยุดพักของเรือ MV Doulos ในท่าเรือเมือง Zamboanga ลูกเรือถูกฆ่าตายด้วยระเบิดโยนโดยสมาชิก Abu Sayyaf และมีการระเบิดบนเวทีในระหว่างการปฏิบัติพิธีโดยมิชชันนารีคริสเตียน ชาวบ้านถูกเสียชีวิต 4 ราย และ 32 รายได้รับบาดเจ็บรวมทั้งลูกเรือและมิชชันนารี[12]
4 เมษายน 1995 ตอนรุ่งสาง กลุ่มของ Abu Sayyaf 200 คนบุกเข้าเมือง Ipil และกราดยิงมีผู้เสียชีวิต53 ราย มีการปล้น ธนาคาร ร้านค้า ลักพา 30 ตัวประกันเป็นโล่มนุษย์แล้วเผาใจกลางเมือง หัวหน้าตำรวจถูกฆ่า เมื่อกองทัพคอมมานโดไล่ล่ามือปืนกบฏไปยังภูเขาใกล้เคียง และพวกเขาหลบหนีไปเมืองที่มีพลเมือง 50,000 คน โล่มนุษย์โดยปริยาย แต่ต่อมามีการต้อน 40 กบฏให้จนมุมในโรงเรียนทางทิศตะวันตกของ Ipil และในวันที่ 6 เมษายน หน่วยกองทัพบุกเข้าโจมตี ในการต่อสู้มีพลเรือน 11 รายถูกสังหาร[13]
3 มกราคม 1999 กลุ่ม Abu Sayyaf โยนระเบิดเข้าไปในฝูงชนที่รวมตัวกันเพื่อดูการดับเพลิงลุกโชนออกมาจากซูเปอร์มาร์เก็ตในย่านโจโล มีผู้เสีชีวิต 10 รายและบาดเจ็บ 74 ราย เหตุการณ์นี้คือการแก้แค้นการสังหาร ผู้นำ ของ Abu Sayyaf Abdurazzak Janjalani โดยตำรวจในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว[14]
14 กุมภาพันธ์ 1999 กลุ่ม Abu Sayyaf  กราดยิงรถจี๊ปที่บรรทุกคริสตชนจาก Tumahubong ที่พวกกำลังเดินทางไปสัมมนาในเมือง Isabela มีผู้เสียชีวิต 6 ราย[15]
รวมการก่อการร้ายโดยกลุ่ม Abu Sayyaf Jemaah Islamiah และLaskar Jihad ระหว่างปี 2000-2016
- Abu Sayyaf
23 เมษายน 2000 กลุ่ม Abu Sayyaf ได้จับเป็นตัวประกันนักท่องเที่ยวจากยุโรปและตะวันออกกลาง10 คน และคนงานรีสอร์ทมาเลเซีย 11 คน และคนที่ไม่ใช่ชาวฟิลิปปินส์ 19 คน ตัวประกันถูกนำไปเป็นฐาน ของ Abu Sayyaf โจโลในเมืองซูลู Abu Sayyaf ต้องการให้ปล่อยตัวนักโทษทั้งหมดรวมทั้ง Ramzi Yousef ผู้วางระเบิด World Trade Center ในปี 1993 และเงิน 2.4 ล้าน USD และให้รัฐบาลถอนทหารจากบริเวณรอบ ๆ เขตโจโลที่ตัวประกันถูกจับ กองทัพฟิลิปปินส์ยอมรับข้อเสนอในวันที่ 16 กันยายน 2000 และช่วยเหลือตัวประกันที่เหลือได้ทั้งหมด[16]
30 ธันวาคม 2000 ในช่วงวันหยุดมีระเบิดเกิดขึ้นในสถานที่ต่างๆทั่วมะนิลามีผู้เสีชีวิต 22 ราย และบาดเจ็บประมาณ 120 ราย ในวันเดียวกันมีเหตุระเบิดที่ Plaza เฟอร์กูสันในมะนิลา ซึ่งห่างจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาไม่ถึง 100 เมตร และมีระเบิดย่านธุรกิจใจกลางเมืองมาคาติทำให้ตำรวจท้องถิ่น 2 นาย เสียชีวิต[17]
27 พฤษภาคม  2001- 7 มิถุนายน 2002  เกิดวิกฤตการณ์ลักพาตัวประกันในภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ที่เกาะ Dos Palmas เริ่มต้นด้วยการลักพาตัวตัวประกัน 20 คนจากรีสอร์ทบนเกาะสุดหรู โดยกลุ่ม Abu Sayyaf  วันที่ 2 พฤษภาคม 2001 และมีการเสียชีวิตอย่างน้อย 5 คนของตัวประกัน รวมทั้งสองพลเมืองอเมริกัน กองกำลังทหารอย่างน้อย 22 คนถูกฆ่าในการพยายามที่จะจับกุมผู้ก่อการร้ายและปล่อยตัวประกัน
ในช่วง 1 ปีต่อมา วิกฤตยังไม่สิ้นสุดได้มีการจับตัวประกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วันที่ 2 มิถุนายนมีการยีดคริสตจักรและโรงพยาบาลจับกุมตัวประกันมากขึ้นไปอีกตลอดปีอย่างน้อย 100 คน 20 คน ถูกฆ่าในเวลาเพียงหนึ่งปีจนถึงการโจมตีครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นจากฝ่ายรัฐในวันที่ 7 มิถุนายน 2002[18]   
29 ตุลาคม 2001 มีการระเบิดด้านหน้าของบาร์คาราโอเกะใกล้สถานีทหารในเมืองซัม โดยกลุ่ม Abu Sayyaf ส่งผลให้คอมมานโดอเมริกัน Beret Green และสามพลเรือนฟิลิปปินส์ เสียชีวิต มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 25 ราย หนึ่งในนั้นคือทหารม้าชาวอเมริกัน ผู้ก่อการทั้งสี่คนของ Abu Sayyaf ในครั้งนี้มีความเชื่อมโยงกับอัลเคด้า[19]
4 มีนาคม 2003 มีการวางระเบิด Davao International Airport โดยกลุ่ม Abu Sayyaf มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 21 รายและบาดเจ็บอย่างน้อย 146 ราย มีมิชชันนารี และชาวอเมริกันรวมอยู่ในนั้นด้วย[20]
26 กุมภาพันธ์ 2004 มีการระเบิดขนาดใหญ่ในการจมเรือ SuperFerry 14 มีผู้เสียชีวิต 116 ราย ซึ่งถือเป็นโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่เลวร้ายที่สุด ในฟิลิปปินส์ ผู้จุดฉนวนชื่อ Adam Redondo Dellosa ให้การสารภาพว่าจุดชนวนให้แก่ กลุ่ม Abu Sayyaf ที่ลงไปจากเรือก่อนการเดินทาง[21]
14 กุมภาพันธ์ 2005 เป็นการระเบิดในวันวาเลนไทน์  สามครั้ง ที่ Makati City, Davao City และ General Santos มีผู้เสียชีวิตถึง 8 รายและบาดเจ็บอาจถึง 150 ราย กลุ่ม Abu Sayyaf อ้างความรับผิดชอบในการวางระเบิดว่าเป็นการตอบโต้การรุกรานทางทหารของกองกำลังของรัฐบาลในช่วงต้นปี 2005 และมีการจับกุมสองสมาชิกชาวอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ของ กลุ่ม  Abu Sayyaf ต่อมาถูกศาลตัดสินประหารชีวิตในการวางระเบิดวันวาเลนไทน์ ในเดือนตุลาคม 2005[22]
27 กุมภาพันธ์ 2010 กลุ่ม  Abu Sayyaf ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้าย อัลเคด้า โจมตีหมู่บ้านใน Maluso มีผู้เสียชีวิต 12 ราย มีการจุดไฟเผาคนทั้งเป็น ในขณะที่ผู้อยู่อาศัยกำลังนอนหลับ มีการสังหารกลุ่มติดอาวุธผู้สนับสนุนหนุนรัฐบาล 10 รายในหมู่บ้าน Tubigan บนเกาะ Basilan หลังจากนั้นมีการโจมตีโต้กลับจากฝ่ายรัฐบาล และได้สังหารผู้บัญชาการของ Abu Sayyaf และการจับกุมสองสมาชิกคนสำคัญ[23]
27  พฤศจิกายน 2011 มีการวางระเบิด Atilano Pension House ที่ Zamboanga City เป็นโรงแรมที่เต็มมีการจัดงานแต่งงาน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ราย บาดเจ็บ 27 ราย ระเบิดเกิดขึ้นในห้อง 226 บนชั้นสองของโรงแรม รุนแรงมากจนทำให้มีคนเสียชีวิตทันที 2 ราย[24]
- Jemaah Islamiyah        
14 กันยายน 2000 มีการวางระเบิดในรถ โดยกลุ่ม Jemaah Islamiyah ในที่จอดใต้ดินของตลาดหลักทรัพย์ Jakarta Stock Exchange การระเบิดทำให้มีรถยนต์ถูกไฟไหม้ และส่วนใหญ่ของผู้ตายเป็นคนขับรถที่รอนายจ้างอยู่[25]
24 ธันวาคม 2000 มีปฏิบัติการ Christmas Eve 2000 Indonesia bombings โดยกลุ่ม Jemaah Islamiyah และ Al Qaeda  ในโบสถ์ 3 แห่งคือ Gereja Sidang Kristos Church Santo Yosef Church Huria Kristen Batak Protestant Church ทำให้มีผู้เสียชีวิต 18 รายและผู้ได้รับบาดเจ็บมากมาย[26]
12 ตุลาคม 2002 มีการวางระเบิดแบบ ประสานงานโจมตี ย่านท่องเที่ยวของ Kuta Bali เป็นการโจมตีที่หนักหน่วงที่สุดของการก่อการร้ายในประวัติศาสตร์ของอินโดนีเซีย มีผู้เสีชีวิต 202 รายทั้งชาวออสเตรเลียและอินโดนีเซีย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 240 ราย ผู้ก่อการร้ายของกลุ่ม Jemaah Islamiyah ที่ถูกจับกุมได้ ถูกตัดสินลงโทษประหารชีวิต[27][28]
5 สิงหาคม 2003 มีการระเบิดฆ่าตัวตาย โดยจุดชนวนระเบิดในรถยนต์นอกล็อบบี้ของโรงแรม JW Marriott มีผู้เสียชีวิต 12 ราย และบาดเจ็บ 150 ราย โรงแรมตั้งอยู่ ที่ Mega Kuningan ,South Jakarta [29]
9 กันยายน 2004 มีการวางระเบิดในรถด้านนอกสถานทูตออสเตรเลียที่ Kuningan, Jakarta  มีผุ้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บกว่า 150 ราย โดยกลุ่ม Jemaah Islamiyah อ้างความรับผิดชอบในการโจมตี[30]
31 ธันวาคม 2005 มีการระเบิดฆ่าตัวตายและวางระเบิดในรถ ที่ Jimbaran Beach Resort และ Kuta, Bali มีผู้คนถูกสังหาร 20 ราย และ มีผู้บาดเจ็บ 100 ราย มือระเบิดฆ่าตัวตายทั้งสามเสียชีวิตในการโจมตี[31]
17 กรกฎาคม 2009 มีการระเบิดที่โรงแรม The JW Marriott และ Ritz-Carlton ในกรุงจาการ์ด้วยระเบิดฆ่าตัวตายที่ใช้เวลาห่างจากกันห้านาที มีผู้เสียชีวิต 7 ราย และบาดเจ็บกว่า 50 ราย[32]
- Laskar Jihad
    พฤษภาคม 2000  กลุ่ม Laskar Jihad ได้มาถึงเมือง Ambon และ Maluku Islands  ซึ่งมีกองกำลังมุสลิมต่อสู้ต่อต้านชาวคริสเตียน การเข้ามาของ Laskar Jihad  ทำความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการการเผาโบสถ์และชุมชนชาวคริสต์พื้นเมืองที่ Ambon และที่อื่น ๆ ในระยะเวลาสองปี มีผู้คนถูกสังหารประมาณ 9,000 คน และบาดเจ็บหลายร้อยคน และหลายพันคนต้องหลบหนีออกจากเมืองของพวกเขา นอกจากนี้ ก็ยังมีการโจมตีชุมชนคริสเตียนใน Sulawesi  West Papua และ Aceh อีกด้วย[33]
                5 ธันวาคม 2002 มีการระเบิดฆ่าตัวตาย ที่ ร้าน McDonalds' ใน Ratu Indah shopping mall มีผู้เสียชีวิต 3 รายรวมทั้งผู้ทำการระเบิดฆ่าตัวตาย Galazi bin Abdul Somad สมาชิกของ Laskar Jihad ที่เป็นผู้สั่งการถูกตัดสินจำคุกสิบแปดปีในการโจมตีครั้งนี้[34]

 ความร่วมมือของอาเซียนในการจัดการการก่อการร้าย
    อาเซียนนั้นกลายเป็นหน่วยงานกลางในการจัดการต่อการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในรูปแบบของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกต่างๆบนเวทีพหุภาคี โดยอาเซียนต้องการประกันความปลอดภัยภูมิภาคเอเชียอาคเนย์จากภัยคุกคามอย่างการก่อการร้าย แต่ทั้งนี้ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรค์อยู่หลายประการ ในเรื่องความเข้าในที่ไม่ตรงกันของรัฐสมาชิกต่อรูปแบบของภัยคุกคามที่ต่างกัน และความหวาดระแวงในการดำเนินการต่างๆของอาเซียนว่าจะเป็นไปในรูปแบบของการแทรกแซรงกิจการภายในหรือไม่      หลังจากเกิด เหตุการณ์ 11 กันยายนปี 2001 เรื่องของการก่อการร้ายกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา อาเซียนมีท่าทีตามสหรัฐฯ มีการออกปฏิญญา มีมาตรการ รวมทั้งมีอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ใน APSC Blueprint ก็ได้ระบุไว้ในหัวข้อที่ B4.2 คือ ถึงการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจซึ่งเป็นผลประโยชน์หลักของชาติสมาชิก เพราะการก่อการร้ายในภูมิภาคจะทำให้ การดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่เป็นเป้าหมายสำคัญของอาเซียนขาดความเชื่อมั่น [35]
ในช่วงแรกหลังเหตุการณ์ 9/11 อาเซียนนั้น ประเทศสมาชิกยังดำเนินการนโยบายต่างๆต่อการก่อการร้ายที่ยังเป็นอิสระและยัง ไม่ได้คำนึงถึงการดำเนินการร่วมกันของอาเซียนในการจัดการต่อการก่อการร้ายมากนัก แม้หลังจากเหตุการณ์ระเบิดบนเกาะบาหลีในปี 2002 อาเซียนก็ยังมีความร่วมมือในการจัดการกับการก่อการร้ายไม่มากนัก อาเซียนยังคงยึดรูปแบบในการดำเนินนโยบายต่อการจัดการการก่อการร้ายที่เป็นอิสระในแต่ละประเทศ หรือความร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่มอย่างสหรัฐอเมริกา เช่น ในข้อกำหนดของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกาในปี 2003 ต้องมีความร่วมมือในการทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายร่วมกันด้วย  
แต่ต่อมาอาเซียนก็ได้มีความร่วมมือในการจัดการการก่อการร้ายร่วมกันมากขึ้นซึ่งนำไปสู่การจับกุมผู้ก่อการร้ายได้จากการประสานงานแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวกรองระหว่างกัน และปรับกฎหมายที่เป็นอุปสรรค์ให้มีมาตรฐานเดียวกันในการจัดการกับการก่อการร้าย[36][37][38]


บรรทัดฐานของความร่วมมือด้านความมั่นคงในอาเซียน และการริเริ่มความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้าย
   จากบรรทัดฐานที่ใช้มาตั้งแต่การก่อตั้งของอาเซียน อย่างการปรึกษาหารือ และฉันทามติ หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ที่เป็นรูปแบบของ ASEAN WAY นั้นทำให้ความร่วมมือด้านความมั่นคงของอเซียนนั้นเป็นไปได้ยาก เนื่องจากชาติสมาชิกต่างๆมีความระมัดระวัง ในการเสนอให้อาเซียนมีการดำเนินการต่างๆ ในการจัดการในเรื่องของความมั่นคง โดยที่จะไม่ไปกระทบต่ออธิปไตยของรัฐสมาชิกต่างๆ นอกจากนี้ความร่วมมือต่างๆในเรื่องของความมั่นคงนั้นเป็นไปในรูปแบบชั่วคราวและมีข้อจำกัด เนื่องจากมีความเข้าใจต่อรูปแบบของภัยคุกคามที่แตกต่างกันระหว่างประเทศสมาชิก และเมื่อมีความพยายามในการแก้ไขหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน ก็จะถูกขัดขวางโดยประเทศสมาชิกที่มีความกลัวและความไม่ไว้วางในระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเองเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากให้การดำเนินการใดๆของอาเซียนมามีบทบาทแทรกแซงกิจการภายในของตนรัฐบาลชาติสมาชิกต่างๆก็กลัวจะสูยเสียความชอบธรรมในการบริหารปกครองต่างๆในประเทศของตน[39]
  
รูปแบบของความร่วมมือและความเข้าใจในการจัดการการก่อการร้ายร่วมกันของอาเซียน ก่อนเหตุการณ์ 9/11/2001
     จากในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 30 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ปี1997 มีการระบุถึงความจำเป็นในการต่อต้านการก่อการร้ายและรูปแบบอื่นๆของอาชญากรรมข้ามชาติ ในที่บทที่ 52 ของแถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม

(Joint Communiqué the 30th ASEAN Ministerial Meeting 1997)

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาเซียนนั้นมีการตระหนักถึงภัยของการก่อการร้ายมาบ้างแล้วก่อนเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งในอดีตอาเซียนก็ได้เผชิญกับเหตุก่อการร้ายมากมายหลังครั้งมาตั้งแต่ปี 1975 ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์การจับกุมตัวประกันโดยกลุ่ม Japanese Red Army ตามที่ได้เสนอไว้ข้างต้น
 แต่กลุ่มก็การร้ายและรูปแบบของการก่อการร้ายส่วนใหญ่นั้นยังเน้นไปที่ผลของการเมืองภายใน เช่น ในปี 1976 ได้มีการโจมตีด้วยระเบิดในมัสยิด Nurul Iman ปาดัง ประเทศอินโดนนิเซีย โดยกลุ่มก่อการร้าย Komando Jihad ที่มีอุดมการณ์จัดตั้งรัฐอิสลามในอินโดนีเซียและโค่นล้มรัฐบาล ในปี 1991 ที่ฟิลิปปินส์ ก็ได้มี การสังหารสองผู้เผยแพร่ศาสนาคริสต์ชาวอเมริกันถูกลอบ จากกลุ่มก่อการร้าย Abu Sayyaf  ที่มีอุดมการณที่ต้องการแบ่งแยกดินแดนเป็นรัฐอิสลามทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์
ต่อมาในปี 1997 ได้มีการจัดทำ ASEAN Declaration on Transnational Crime 1997 โดยกำหนดให้มีการประชุม ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime (AMMTC) เพื่อเป็นเวทีในการขับเคลื่อนความร่วมมือและสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดการกับอาชญากรรมข้ามชาติในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการจัดการกับปัญหาของการก่อการร้ายด้วย โดยพยายามให้มีการแลกเปลี่ยนกันในข้อมูล และความร่วมมือในการดำเนินนโยบายร่วมกัน เช่น การตั้งผู้แทนทูตตำรวจ ในชาติสมาชิกอาเซียน และการรวบรวมแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมข้ามชาติ ระหว่างหน่วยงานของตำรวจในแต่ละประเทศสมาชิก[40][41][42]

รูปแบบของความร่วมมือและความเข้าใจ ในการจัดการการก่อการร้ายร่วมกันของอาเซียน หลังเหตุการณ์ 9/11/2001
      หลังจากเหตุการณ์ 9/11 แม้อาเซียนยังมีความร่วมมือในการจัดการกับการก่อการร้ายไม่มากนักแต่ก็นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงมุมมองของอาเซียนต่อกรก่อการร้ายหลายประการ
-  ในการประชุมครั้งที่ 3 ของ ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime (AMMTC) 2001 จะมีข้อเสนอให้ยกประเด็นเรื่องการก่อการร้ายขึ้นเป็นประเด็นเฉพาะ
-  ในปี 2002 ได้มีการจัดทำ Work program to Implement the plan of Action to Combat Transnational Crime ที่ครอบคลุมยุทธศาสตร์ของการจัดการการก่อการร้ายในภูมิภาคด้วย
-  อาเซียนเห็นว่า กลุ่มก่อการร้ายอย่าง Al-Qaeda และ Jemaah Islamiyahมีความสามารถในการดำเนินการข้ามพรมแดนได้อย่างราบรื่น เพราะอาศัยความไม่สอดคล้องของ กฎหมาย การบังคับใช้กฎ หมาย การจัดลำดับความสำคัญ ภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนในการเดินทางข้ามประเทศได้ เช่น ในสิงค์โปรและมาเลเซียมีกฎหมายในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่ต้องไต่สวนและไม่มีกำหนดระยะเวลา แต่อินโดนีเซียมีปัญหามากมายจากการคอรัปชั่น และยังไม่มีกฎหมายลงโทษผู้ต้องสงสัยในการก่อการร้ายอย่างรุนแรง จนถึงปี 2003

ปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากการที่ประเทศในอาเซียนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันในการรับมือและการป้องกันการก่อการร้าย ทำให้แนวทางของการร่วมมือในการจัดการกับการก่อการร้ายร่วมกันมีอุปสรรค์มากมายจาก กฎหมาย ข้อบังคบที่แตกต่างกันดังนี้
- กรณีฟิลิปปินส์  กลุ่ม Abu Sayyaf  และ Moro Islamic Liberation Front (MILF) ต้องการจัดตั้งรัฐอิสลามทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ทางการฟิลิปปินส์แก้ไขปัญหาด้วยวิธีการใช้กำลังอย่างรุนแรง
 -กรณีอินโดนีเซีย กลุ่มก่อการร้ายมักเชื่อมโยงกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในจีมอร์ตะวันออก และ อาเจะห์ ในสมัยประธานาธิบดีซุฮาร์โต ได้มีการให้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรง ภายหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการลงจากอำนาจของซูฮาร์โต ในปี 1998 อินโดนีเซียตกอยู่ในภาวะเปราะบางจากกลุ่มแบ่งแยกมุสลิมหัวรุนแรงในอาเจะห์ การพูดคุยสันติภาพมักหยุดชะงักเนื่องจากการใช้กำลังทหารของทางการ แต่หลังจากที่ อาเจะห์ประสบภัยจากคลื่นสึกนามิ ท่าทีรัฐบาลก็ผ่อนปรนลงให้อำนาจการปกครองตนเองและอนุญาติให้มีการใช้ กฎหมายอิสลามในการปกครองอาเจะห์ได้ แต่ก็สร้างปัญหากับคนต่างศาสนิกภายในพื้นที่อยู่บ้าง
-กรณีมาเลเซีย ไม่ค่อยมีปัญหามากนักและมักใช้วิธีใรการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงโดย นโยบายทางสายกลางของ ดร. มหาเธร์ มูฮัมหมัด ในปี 2002 และเห็นควรให้อาเซียนนำไปใช้รวมถึงประณามการก่อการร้ายต่างๆและการรุกรากอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา
ในช่วงการรุกรากอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา นั้นรัฐบาลอินโดนีเซียไม่ได้มีท่าทีในการกระทำของสหรัฐอเมริกาในสมัยประธานาธิบดี เมกาวาดี ซุการ์โนบุตรี เนื่องจากมีนโยบายหลักในการฟื้นฟู เสถียรภาพของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินนโยบายแบบสมดุลทางทหาร แต่กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงอย่าง Islamic Defenders Front และกลุ่มนักธุรกิจมุสลิมมีการประณามการกระทำของสหรัฐอเมริกาและต้องการให้รัฐบาลอินโดนีเซียตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา สภาพเช่นนี้ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียลังเลที่จะร่วมมือในการดำเนินนโยบายทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากจะกระทบเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ
ชาติอาเซียนทั้งหลายยกเว้น CLMV ได้ให้การสนับสนุนการทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายที่สหรัฐอเมริกากระทำอยู่ในขณะนั้นโดย ฟิลิปปินส์ ไทย และ สิงค์โปร ได้สนับสนุนการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา
-ไทย อนุญาตให้สหรัฐอเมริกาใช้ฐานทัพอากาศที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งผลกระทบกับความรู้สึกของประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลามในประเทศ
-ฟิลิปปินส์ ได้ให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติแรกในเอเชียในการส่งกำลังไปร่วมรบที่อัฟกานิสถาน
-สิงคโปร์ แม้จะสนับสนุนการทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้ายแต่ก็เตือนให้สหรัฐอเมริกาดำเนินการอย่างระมัดระวัง[43][44]

ความเข้าใจต่อภัยจากการก่อการร้ายร่วมกันในภูมิภาคหลังเหตุการณ์ 9/11/2001
    อาเซียนได้เริ่มสร้างความเข้าใจร่วมกันต่อภัยคุกคามต่อภูมิภาคในรูปแบบของการก่อการร้าย ในปี 2001 หลังการลงนาม ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism 2001 ซึ่งเป็นปฎิญญาที่ได้รับอิทธิผลจากการประกาศสงครามต่อกลุ่มก่อการร้ายต่างๆของสหรัฐอเมริกา
- โดยประกาศให้การก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามต่อประเทศสมาชิกและภูมิภาครวมไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค
- มีการประณามการโจมตีของกลุ่มผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11ร่วมกัน
- ปฏิเสธความพยายามใดๆในการเชื่อมโยงการก่อการร้ายกับเชื้อชาติและภูมิภาค
- ทบทวนและเสริมสร้างกลไกในระดับชาติในการปราบปรามการก่อการร้าย
- เรียกร้องให้มีการเพิ่มการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารและความร่วมมือในการสร้างมาตรฐานเดียวในการใช้กฎหมายเพื่อเป็นการสะดวกในการควบคุมผู้ต้องสงสัย
- เรียกร้องให้สมาชิกอาเซียน ลงนาม ในสัตยาบัน ทำภาคยานุวัติ ในกฎหมายการต่อต้านการก่อการร้ายทุกฉบับ รวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยการปราบปรามการสนับสนุนเงินทุนต่อการก่อการร้าย
- ประกาศให้องค์การสหประชาชาติมีบทบาทหลักในการปราบปรามการก่อการร้ายในระดับนานาชาติ
ประกาศเจตนารมของอาเซียน ในการพูดคุยและสำรวจแนวคิดและข้อริเริ่มในการเพิ่มบทบาทของอาเซียนในการมีสวนร่วมกับประชาคมโลกในการต่อต้านการก่อการร้าย
     แต่ปฏิญญานี้ไม่ได้ระบุถึงความเข้าใจที่แตกต่างกันในเรื่องของการก่อการร้ายในอาเซียน และวิธีการในการรับมือการก่อการร้ายควรอยู่ในระดับใด และถึงแม้จะมีการลงนามในปฏิญญานี้และของชาติสมาชิกอาเซียน แต่มุมมองต่อปัญหาการก่อการร้ายของสมาชิกอาเซียนก็ยังมีความแตกต่างกัน เช่น การที่สิงคโปร์ ต้องการให้อินโดนีเซียจักการกับกลุ่มก่อการร้ายในประเทศตนแบบถอนรากถอนโคน โดยเน้นไปที่กลุ่ม Jemaah Islamiyah  ที่มีฐานและผู้นำในขณะนั้นอย่าง Abu Bakar baasyir และ Ridduan Isamuddin อยู่ในอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซียตอบโต้ว่าการจัดการกับการก่อการร้ายนั้นแตกต่างกันไปตามสถานการณ์และระบบการเมืองในแต่ละประเทศ เช่นนี้จึงแสดงให้ถึงความท้าทายในการจักการกับกลุ่มก่อการร้ายที่จะไม่ก้าวก่ายในเรื่องของการแทรกแซงกิจการภายใน และการสร้างอัตลักษณ์ร่วมกันในการจัดการการก่อการร้ายร่วมกันในอาเซียนนั้น อาจถูกขัดขวางโดยการเมืองภายใน ซึ่งเป็นสิ่งที่ลดถอนความร่วมมือและจะทำให้รัฐสมาชิกร่วมมือกันได้ยากขึ้น[45][46]

การเข้ามาแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา
    ภายหลังจากเหตุการณ์ 9/11 สหรัฐอเมริกาได้ให้เงินทุนช่วยเหลือแก่ประเทศในเอเชียอาตเนย์ในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้าย ซึ่งอเมริกามองภูมิภาคนี้เป็นแนวรบที่สอง ในการทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย โดยให้ทุนแก่รัฐบาลฟิลิปปินส์ 100 ล้าน USD  และช่วยเหลือในเรื่องการฝึกอบรมยุทโธปกรณ์ทางทหารและเพิ่มกองกำลังทางทหารของสหรัฐไปร่วมสู้รบกับกลุ่ม Abu Sayyaf ในปี 2002 ที่ทำให้สมาชิกกลุ่ม Abu Sayyaf  ลดจำนวนลงจากประมาณ 1,000 คน เหลือประมาณ 400 คน แต่การกระทำเช่นนี้ของสหรัฐอเมริกาก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชน โดยพวกเขาเห็นว่าการกระทำของสหรัฐอเมริกาเป็นท่าทีของจักรวรรดินิยมใหม่
    ในอินโดนิเซียสหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่อินโดนีเซียทั้งการรื้อฟื้นการซ้อมรบร่วมกัน การให้เงินทุนจำนวนมาก ซึงก่อให้เกิดการต่อต้านการประชาชนในประเทศเช่นเดียวกันโดยเฉพาะกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ที่บางส่วนเรียกร้องให้ทำสงคราม Jihad กับสหรัฐอเมริกา
    การเข้ามาแทรกแซงภายในภูมิภาคของสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชาติอาเซียน และสร้างความเข้าใจในเรื่องของภัยคุกคามร่วมกันยากขึ้น แต่การลงนามใน ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism 2001ก็แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการจักการกับการก่อการร้ายร่วมกันอยู่ และในปี 2002 ได้มีการจัดตั้ง ASEAN network security action council เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนข้อมูลด้านความมั่นคงร่วมกัน และได้มีการจัดตั้ง Commputer Emergency Response Team เพื่อตอบโต้การก่อการร้ายในทางไซเบอร์
     จะเห็นได้ว่าหลังเหตุการณ์ 9/11 อาเซียนได้พยายามสร้างความร่วมมือต่างๆในการจัดจากกับการก่อการร้ายมากขึ้นและพยายามพัฒนามุมมองต่อภัยคุกคามจากการก่อการร้ายร่วมกันให้มาเป็นประเด็นในระดับภูมิภาคมากขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาในการลำดับความสำคัญของปัญหาภัยคุกคามจากการก่อการร้ายที่ต้องจัดการด้วยนโยบายระดับภูมิภาค เนื่องจากมีความระมัดระวังในการแทรกแซงกิจการภายในระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงอิทธิพลจากมหาอำนาจภายนอกซึ่งชาติอาเซียนไม่ได้มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันต่อการเข้ามาแทรงแซงของ สหรัฐอเมริกาในภูมิภาค[47][48]


รูปแบบของความร่วมมือและความเข้าใจ ในการจัดการการก่อการร้ายร่วมกันของอาเซียน หลังเหตุการณ์ ระเบิดที่บาหลี ปี 2002

      การระเบิดที่ไนต์คลับบนเกาะบาหลี ตุลาคมปี 2002 ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายต่อการจักการการก่อการร้ายของอาเซียน โดยมีการออก Declaration on Terrorism by the 8th ASEAN Summit Phnom Penh, 3 November 2002 โดยมีการเน้นย้ำในเรื่อง

- การประณามการก่อการร้ายที่บาหลี

- การต่อต้านการใช้วิธีการก่อการร้ายทุกกรณี

- ตำหนิความพยายามในบางภาคส่วน ที่จำกัดการก่อการร้ายไว้กับเรื่องเชื้อชาติและศาสนาใดๆ

- พยายามให้เจ้าหน้าที่ระหว่างรัฐสมาชิกได้มีการร่วมดำเนินงานร่วมกัน ในการบังคับใช้กฎหมายมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะนำไปสู่การจับกุมผู้ก่อการร้าย

- ตกลงที่จะสร้างแผนปฏิบัติการสำหรับ ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism ในการกระชับคงวามร่วมมือปราบปรามกิจกรรมของกลุ่มก่อการร้ายต่างๆในภูมิภาค

- และยังแสดงความไม่พอใจต่อชาติตะวันตกในกรณีการเตือนพลเมืองของตนในการเดินทางมายังภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

 

หลังจากเหตุการณ์ ระเบิดที่บาหลี ปี 2002  ข้าราชการประจำอาวุโสของอาเซียนก็แสวงหาความเป็นไปได้ของการประชุมระดับภูมิภาค ในประเด็นเรื่องการจัดการการก่อการร้าย และข้อตกลงความช่วยเหลือทางกฎหมายร่วมกันในระดับภูมิภาค

มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานระหว่างหน่วยงานทางความมั่นคงของรัฐสมาชิกเช่น ตำรวจ ทหาร ที่ต้องเผชิญกับการจัดการกับการก่อการร้าย เพื่อการเตือนภัยล้วงหน้าระหว่างกันและระบบ Commputer Emergency Response Team เพื่อตอบโต้การก่อการร้ายในทางไซเบอร์ ที่ทำให้มีผลสำเร็จในการจับกุมสมาชิกกลุ่ม Jemaah Islamiah 23 คนที่สิงค์โปร ในปี 2002 มีการปราบปรามยับยั้งการสนับสนุนและจัดหาเงินทุนให้แก่กลุ่มก่อการร้ายร่วมกัน ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ของสหประชาชาติ

และยังมีความร่วมมือระหว่างชาติอาเซียนที่แสดงออกมาให้เห็น ในการประชุมประจำปีของหัวหน้าตำรวจอาเซียน (ASEANAPOL) ในเดือนพฤษภาคมปี 2002 ในกรุงพนมเปญเรียกร้องให้มีความร่วมมือร่วมกันในหมู่สมาชิก ASEANAPOL ในการต่อสู้กับการก่อการร้าย ประธานอาเซียนของตำรวจมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาขีดความสามารถเพื่อให้มั่นใจว่าสมาชิก ASEANAPOL มีประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันบนในการจัดการกับทุกรูปแบบของกิจกรรมการก่อการร้าย  มีการตกลงที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และการบังคับใช้กฎหมายที่ผ่าน รูปแบบ การใช้มาตรฐานเดียวกันสำหรับของการบังคับในการใช้กฎหมายในระดับแนวหน้าต่อการจัดการการก่อการร้าย ที่เน้นกระบวนการตรวจสอบเข้มงวดในการเดินทางผ่านข้ามแดน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดระหว่างกัน “best practices”

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการในการปราบปรามการก่อการร้ายที่จัดขึ้นในกรุงจาการ์ตาในเดือนมกราคม 2003 ตำรวจอาเซียนและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายตกลงกันว่าแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องสร้างหน่วยงานการต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและการทำงานร่วมกันในการจักการกับผลกระทบจากการโจมตีของผู้ก่อการร้าย การให้ความช่วยเหลือในการระบุติดตามและจับกุมผู้ต้องสงสัย การตรวจสอบของพยาน, การค้นหาและการยึดหลักฐานของการอพยพและการรักษาของผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางนิติเวช ข้อเสนอนี้ถูกเรียกว่า "ความร่วมมือของอาเซียนหลังการถูกโจมตีจากการก่อการร้าย"  เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองอาเซียนก็ได้มีการตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือและประสานงาน กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายและยับยั้งการก่อการร้ายข้ามพรมแดน และมีการประสานงานไปยังหน่วยข่าวกรองในแต่ละประเทศ ในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการก่อการร้าย และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

นอกจากความพยายามในระดับภูมิภาคและบางประเทศสมาชิกอาเซียน ได้มีการเตรียมการสำหรับรูปแบบความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคที่มุ่งเน้น เสริมสร้างความมั่นคงระหว่างชายแดนและการจัดการกับการก่อการร้ายที่มีการเคลื่อนไหวขึ้นบริเวณพรมแดนร่วมกัน ในเดือนพฤษภาคมปี 2002 อินโดนีเซียมาเลเซียและฟิลิปปินส์ ได้ลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการจัดตั้งการสื่อสารรวมถึงการให้ความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติรวมทั้งการก่อการร้าย ไทยและกัมพูชาก็ได้ยอมรับในภายหลังสำหรับข้อตกลงนี้ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2002 มาเลเซีย ได้มีการจัดตั้งศูนย์การต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาค

ต่อมาในเดือน กุมภาพันธ์ ปี 2003 ทางการอินโดนีเซียและสิงคโปร์ได้ร่วมมือกันในการทำการจับกุม Mas Selamat Kastari ผู้สงสัยว่าเป็นหัวหน้าของเครือข่าย Jemaah Islamiyah  ในสิงคโปร์ ต่อมาในเดือนเมษายน ได้มีการจับกุม Abu Rusdin พร้อมด้วยผู้ต้องสงสัยอีก 17 คนในสิงคโปร์ การจับกุมยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยทางการไทยได้จับกุม Hambali ผู้มีส่วนร่วมในการระเบิดที่บาหลีและกำลังเตรียมการที่จะวางระเบิดสถานทูตหลายแห่งในกรุงเทพ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนในการร่วมกันจัดการการก่อการร้ายมากขึ้น  

ในด้านของเวที ARF ในการประชุมครั้งที่ 9  ได้มีการประกาศมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายทางการเงินเป็น เป็นข้อตกลงร่วมกันในขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมที่ ในการขัดขวางสินทรัพย์ของผู้ก่อการร้ายที่ดำเนินการตามมาตรฐานระหว่างประเทศ และมีความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการเผยแพร่รวมถึงช่วยเหลือทางด้านเทคนิค เดือนมีนาคม 2003 ได้มีการจัดการประชุมเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติอย่าง  (Intersessional meeting on counter-terrorism and transnational crime) เพื่อการแบ่งปันข้อมูล และพัฒนาแนวทางในการป้องกันการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งเป็นเวทีที่มีประเทศมหาอำนาจนอกภูมิภาคเข้าร่วมด้วยตามกรอบสมาชิก ARF การประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อาเซียนต้องการความช่วยเหลือในการจัดการต่อการก่อการร้ายจากประเทศภายนอกภูมิภาคด้วย

ในกรอบ ASEAN+3 อาเซียนได้มีความร่วมมือกับ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อรับมือกับภัยคุกคามจากการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติผ่านการประชุม AMMTC + 3 [49][50][51]

สาเหตุที่ทำให้อาเซียนเปลี่ยนแปลงแนวทางและความเข้าใจต่อการก่อการร้ายหลังจากเหตุการณ์ระเบิดที่บาหลี ปี 2002

-  การที่เหตุการณ์ก่อการร้ายที่มีความรุนแรง ได้มาเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ และการจับกุมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายในหลายๆประเทศของภูมิภาค ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนต่างๆเห็นว่านี้คือ ภัยคุคามร่วมกันและใกล้ตัวไม่สามารถมองข้ามได้

-   แนวทางการต่อต้านการก่อการร้ายที่ดำเนินมานั้น ไม่ได้กระทบต่อการเมืองภายในมากนัก จึงทำให้อาเซียนมีแนวทางร่วมกันในการดำเนินนโยบายในการจัดการต่อการก่อการร้ายได้สนิทใจบนฐานของผลประโยชน์ร่วมกันทางความมั่นคงได้ง่ายขึ้น[52]

ต่อมาในปี 2007 ประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้มีการลงนามใน อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย ASEAN Convention on Counter-Terrorism - ACCT  ณ ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 และ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2011 ณ บรูไน ดารุสซาลาม เป็นรัฐสมาชิกอาเซียนประเทศที่ 6 ที่ให้สัตยาบัน คือ สิงคโปร์, ไทย, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา, เวียดนาม และ บรูไน ทำให้อนุสัญญามีผลบังคับใช้ได้

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวว่า ความคืบหน้าดังกล่าวของอาเซียนจะมีเครื่องมือในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้ายในภูมิภาคอย่างเป็นทางการ และเห็นว่า การเสียชีวิตของ โอซามา บิน ลาเดน ในเวลาที่ใกล้เคียงกันกับความคืบหน้านี้ หมายถึงการจบสิ้นบทหนึ่งของการต่อสู้เพื่อต่อต้านความรุนแรงแห่งการก่อการร้าย และกระบวนการก่อการร้ายในโลก มาบัดนี้โลกเข้าสู่สภาวะวิกฤติ เราชาวอาเซียนก็จะต้องระมัดระวังและตื่นตัวอย่างที่สุด และต้องเตรียมพร้อมรับกับเหตุการณ์ร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้อีก อาเซียนมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันต่อไป ไม่เพียงแต่เพื่อการป้องกันและกำจัดการก่อการร้ายและความรุนแรงแบบที่สุดเท่านั้น หากแต่เราจะต้องมุ่งแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ จัดการกับเงื่อนไขอันเป็นตัวการก่อกำเนิดการข่มขู่ต่อมนุษยชาติเช่นว่านี้ หนทางสู่การยุติความรุนแรงแบบสุดขั้ว, การก่อการร้าย และภาวะวัฒนธรรมเสื่อมโทรมนั้นอาจจะมีเส้นทางพาดผ่านอาเซียนด้วยบ้างก็เป็นได้ 

แนวทางของอาเซียนในการแก้ปัญหาการก่อการร้ายระหว่างประเทศนั้น ยึดหลักการส่งเสริมและการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน เคารพในการมีส่วนร่วมของชุมชนต่างๆที่มีความแตกต่างหลากหลายทางประวัติศาสตร์ สังคม ศาสนา และ วัฒนธรรม เคารพในหลักสันติ การอยู่ร่วมกันอย่างสงบและสันติ การมีส่วนร่วมในการสร้างชุมชนและประชาคมอาเซียนร่วมกัน ในอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย มีการยืนยันว่าการก่อการร้ายไม่อาจจะ และไม่ควรจะไปมีส่วนเชื่อมโยงผูกพันกับศาสนา, สัญชาติ, อารยธรรม หรือกลุ่มชาติพันธุ์ใดๆทั้งสิ้น มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในอันที่จะเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งในด้านการป้องกัน การกำจัดขัดขวางการก่อการร้ายในทุกรูปทุกแบบ การก่อการร้าย ไม่ว่าจะมาในรูปแบใด ล้วนเป็นการข่มขู่สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศอย่างยิ่งยวด เป็นการท้าทายโดยตรงต่อเป้าหมายของการบรรลุซึ่งสันติภาพ ความก้าวหน้า และความมั่งคั่งของอาเซียน ตลอดจนเป้าหมายวิสัยทัศน์ 2020 ของอาเซียนอีกด้วย [53]

ในอนุสัญญามีการระบุถึงกรอบความร่วมมือทั้งหมดมี 13 เรื่องดังนี้

จัดการตามขั้นตอนที่จำเป็นป้องกันมิให้เกิดการก่อการร้าย แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันเพื่อการเตือนภัยล้วงหน้า

ป้องกันมิให้ผู้ก่อการร้าย ผู้อุดหนุนการเงิน มิให้ใช้อาณาเขตในประเทศสมาชิกเพื่อการก่อการร้าย

- ป้องกันและขัดขวางกระบวนการสนับสนุนทางการเงินต่อผู้ก่อการร้าย

- ป้องกันการเคลื่อนไหวย้ายถิ่นที่โดยกระบวนการตรวจสอบเข้มงวดในการเดินทางผ่านข้ามแดน ตรวจต้านกระบวนการทำเอกสารปลอมต่างๆ

- ส่งเสริมการพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานร่วมมือกัน โดยผ่านการฝึกอบรม ประชุมสัมมนา ความร่วมมือทางเทคนิค ฯลฯ

ส่งเสริมประชาสัมพันธ์การรับรู้ของสาธารณชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านการก่อการร้าย ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มชนในสังคมที่ต่างอารยธรรม

    - เสริมสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดน

- เสริมสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลและข่าวกรอง

    - พัฒนาฐานข้อมูลระดับภูมิภาคอาเซียนภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรที่เกี่ยวข้องของอาเซียน

- พัฒนาขีดความสามารถและความพร้อมในการรับมือกับการก่อการร้ายที่ใช้อาวุธเคมี-ชีวภาพ-รังสี-นิวเคลียร์-อินเตอร์เน็ต และรูปแบบใหม่ๆในการก่อการร้ายในปัจจุบัน

- พัฒนางานวิจัยและพัฒนาทางวิชาการต่างๆเพื่อเพิ่มพูนความรู้และมาตรการการต่อต้านการก่อการร้าย

- สนับสนุนให้ใช้ระบบสื่อสารผ่านการประชุมทางวิดิทัศน์ และเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสมในการสื่อสารระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียนด้วยกัน

- ทำให้มั่นใจได้ว่าจะจัดการจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการก่อการร้ายมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้จงได้[54][55]                                                                    รูปแบบการส่งเสริมความร่วมมือในการต่อการก่อการร้ายที่ระบุไว้ใน APSC 2025

    - ระบุให้มีการหารือแนวทางการต่อต้านการก่อการร้ายใน ASEAN Defence Ministers Meeting และ ADMM+

    - สร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการแลกเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการลบล้างอุดมการณ์ความรุนแรงต่างๆ เช่น การส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน การเยียวยาผู้กลับใจ และ รูปแบบการปราบปรามกลุ่มก่อการร้าย

- เสริมสร้างความร่วมมือและความร่วมมือระหว่างจาการ์ตา ศูนย์ความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมาย ระหว่าง Jakarta Centre International Law Enforcement Academy และ Southeast Asia Regional Centreสำหรับการต่อต้านก่อการร้ายในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของกลยุทธ์เทคนิคและยุทธวิธีใหม่ในการตอบโต้การก่อการร้าย

- ดำเนินการต่อเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยสืบราชการลับทางการเงิน /หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในการป้องกันการฟอกเงิน การจัดหาเงินทุน สำหรับการก่อการร้าย

- เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ในการจัดการขัดขวางกับการเดินทางข้ามแดนของผู้ก่อการร้าย

- ส่งเสริมให้ความร่วมมือและประสานงานในการต่อต้านการก่อการร้าย แก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายและการทหาร รวมถึงหน่วยงานที่ไม่ใช่ทหาร

- เสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจาและองค์กรระหว่างประเทศรวมทั้งหน่วยงานของสหประชาชาติในต่อต้านการก่อการร้ายผ่านโครงการต่างๆ[56]

 ISIS และความเกี่ยวพันต่อการก่อการร้ายในอาเซียน

ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 กลุ่มก่อการร้ายที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอัลเคด้าโดยเฉพาะกลุ่ม Jemaah Islamiyah และ Abu Sayyaf ที่เคยมีการฝึกซ้อมร่วมและให้ความช่วงเหลือกัน ได้เคลื่อนไหวก่อวินาศกรรมในภูมิภาคหลายครั้งดังที่เสนอมา และหลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้ากลุ่มอัลเคด้าอย่าง Osama bin laden Abu Musab Al-zarqawi และAbu Omar Baghdadi ที่เป็นผู้นำเดิมของ ISIS ที่ถือกำเนิดอีกครั้งหลังจากความกระจัดกระจายของอัลเคด้าที่ถูกปราบปรามโดยทหารสหรัฐอเมริกาในตะวันออกกลาง ซึ่งผู้นำคนล่าสุดของ ISIS คือ  Abu Bakr Al-Baghdadi ที่สถาปนาตนเองเป็นคอลีฟะฮ์แห่งรัฐอิสลามอีกครั้งซึ่งเป็นวิถีทางที่ผิดไม่ได้มีการเลือกสรรจากประชาชนหรือชุมชน กลุ่ม ISIS ได้มีการก่อการร้ายที่รุ่นแรงและประสบความสำเร็จมากขึ้นในการยึดดินแดนต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลางเพื่อทำการยึดครอง Levant (ดินแดนที่เป็นที่ตั้งของอณาจักรออตโตมันเดิม ก่อนการแบ่งแยกและปกครองของอังกฤษและฝรั่งเศส) ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด ได้เสริมสร้างความฮึกเหิมแก่กลุ่มก่อการร้ายในอาเซียนมากขึ้นเช่นกัน
 มีการก่อการขึ้นหลายครั้งจากกลุ่มดังกล่าวที่มีความเชื่อมโยงกับ ISIS โดยเฉพาะการก่อวินาศกรรมที่กรุงจาการ์ตาเดือนมกราคมปี 2015 และการโจมตีกองกำลังทหารของฟิลิปปินส์ ISIS จึงกลายเป็นภัยคุมคาม ที่ฝ่ายรัฐบาลวิตกกังวล ทั้งนี้เพราะ กลุ่มก่อการร้ายในภูมิภาคอาเซียนได้ชื่นชมและนิยม ISIS มากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาได้มีการจัดตั้งหน่วยรบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้กองกำลังของ ISIS โดยเป็นการจัดตั้งจากนักรบ ISIS ในซีเรีย ที่เดินทางมาจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย จำนวนของนักรบ ISIS ที่มาจากประเทศอาเซียน ประมาณได้ว่าน่าจะมี 700-800 คน อย่างไรก็ตาม ISIS ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการว่า มีความสนใจที่จะปฏิบัติการในประเทศอาเซียนที่อยู่นอกเป้าหมายของพวกเขา ดังนั้น อิทธิพลของ ISIS ในภูมิภาค จึงมีลักษณะเป็นทางอ้อมคือ การที่กลุ่มก่อการร้ายท้องถิ่นประกาศสนับสนุน แต่ ISIS ได้ก่อวินาศกรรมในอินโดนีเซียเป็นที่แรกในอาเซียนในปี 2015
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่ม JI ไม่ได้มีสัมพันธ์ที่ดีกับ ISIS และกลุ่ม JI ก็มีคนที่เลื่อมใสศรัทธามากกว่ากลุ่ม ISIS ในอินโดนีเซีย ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย น่าจะมาจาก JI มากกว่า ISIS  สำหรับมาเลเซีย ประมาณได้ว่า มีชาวมาเลเซียร่วมกับกองกำลัง  ISIS ในซีเรียและอิรัก ประมาณ 100 คน แม้ว่าจะไม่มีการก่อวินาศกรรมครั้งใหญ่ในมาเลเซีย แต่จากปฏิบัติการของตำรวจมาเลเซีย ก็ค้นพบแผนการก่อวินาศกรรมในประเทศ นอกจากนี้ ปีที่แล้ว ได้มีการจับกุมกลุ่มสนับสนุน ISIS ในมาเลเซียกว่า 100 คน รัฐบาลมาเลเซียกำลังกังวลใจเกี่ยวกับการแพร่สะพัดของเว็บไซต์ ที่ใช้ภาษามาลายู และมีการสนับสนุน ISIS อย่างชัดเจน มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายในอาเซียนในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลของประเทศต่างๆในอาเซียน ได้ตื่นตัวต่อภัยอันตรายที่จะมาจากกลุ่ม ISIS มาตรการต่อต้านการก่อการร้ายในอาเซียน มีวิวัฒนาการเรื่อยมา ตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยาฯ ปี 2001 การประกาศจัดตั้งรัฐอิสลามของ ISIS ในปี 2014 และการเข้าร่วมกับกองกำลัง ISIS จากกลุ่มก่อการร้ายหลายประเทศในภูมิภาค ทำให้รัฐบาลอาเซียนโดยเฉพาะอินโดนีเซีย มาเลเซียและสิงคโปร์ ตื่นตัวเป็นอย่างมาก ต่อมาตรการต่อต้านการก่อการร้าย ในอินโดนีเซีย ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย มุ่งเป้าไปที่กลุ่มสนับสนุน ISIS ในเกาะ Sulawesi สำหรับในมาเลเซียและสิงคโปร์ รัฐบาลได้ใช้กฎหมายความมั่นคงภายใน เพื่อจับกุมกลุ่มสนับสนุน ISIS สำหรับในฟิลิปปินส์ มีหลายกลุ่มก่อการร้ายที่ประกาศสนับสนุน ISIS  แต่ปฏิบัติการของกลุ่มเหล่านี้จำกัดอยู่ในเกาะ Mindanao ทางใต้ของฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม อาณาบริเวณที่นับว่าอันตรายและล่อแหลมที่สุด อยู่ในเขตทะเลที่เชื่อมต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ทะเล Sulu ของฟิลิปปินส์ Sabah ของมาเลเซีย และ Sulawesi ของอินโดนีเซีย ทะเลบริเวณดังกล่าว เป็นบริเวณที่มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม และที่ผ่านมา กองกำลังของฝ่ายรัฐบาลก็ไม่สามารถจัดการกับกลุ่ม JI ในบริเวณเกาะ Sulu ของฟิลิปปินส์ได้ ชี้ให้เห็นว่า อาณาบริเวณนี้ ได้กลายเป็นแหล่งซ่องสุมใหญ่ของกลุ่มก่อการร้ายในอาเซียน
 สถานการณ์การก่อการร้ายในอาเซียน มีความล่อแหลม มีกลุ่มก่อการร้ายหลายกลุ่ม แต่บางกลุ่มก็ไม่ได้เป็นพวกเดียวกัน ตัวอย่างสำคัญคือ ความสัมพันธ์ระหว่าง ISIS  กับ JI ซึ่งมีลักษณะขัดแย้งกัน ดังนั้น แม้ว่าหลายฝ่ายจะมุ่งเป้าไปที่ภัยคุกคามจาก ISIS   แต่นักวิชาการจากสิงคโปร์มองว่า ในระยะยาว ภัยคุมคามน่าจะมาจาก JI มากกว่า ISIS  ทั้งนี้เพราะกลุ่ม ISIS ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในอนาคตก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยเฉพาะหากองค์กรใหญ่ของ ISIS ในซีเรียและอิรัก ตัดสินใจมุ่งเป้ามาที่อาเซียน แต่ก็มีความเป็นไปได้น้อยเพราะ ISIS  น่าจะยังคงมุ่งเป้าไปในการยึดพื้นที่ในอิรักและซีเรีย และขยายพื้นที่ออกไปทั่วตะวันออกกลางและยุโรปมากกว่าที่จะมุ่งเป้ามาที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นภัยคุมคามของ ISIS  ในอาเซียน อาจจะไม่รุนแรงมากอย่างที่หลายฝ่ายตื่นกลัว[57]

 

การประเมินความร่วมมือของอาเซียนในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้าย

จากรูปแบบความร่วมมือและมาตรการทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า อาเซียนและประเทศสมาชิกมีความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับการก่อการร้าย ในระดับทวิภาคีภูมิภาคและพหุภาคีรวมถึงอนุภูมิภาค ในการใช้วิธีการที่ครอบคลุมในการแก้ไขปัญหา อาเซียนพยายามกำจัดรากฐานของสาเหตุของการก่อการร้ายอย่างช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก มีการส่งเสริมในมาตรการการจ้างงาน ที่มีประสิทธิภาพและจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนในการลดความเสี่ยงในการเกิดการก่อการร้ายและการเพิ่มขึ้นของสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย ในการทำเช่นนี้ อาเซียนจึงจะต้องมีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากประเทศคู่เจรจาและประชาคมระหว่างประเทศ โดยเราจะเห็นได้ว่าอาเซียนได้มีการพูดถึงรูปแบบของอาชญากรรมข้ามชาติรูปแบบใหม่อย่างการก่อการร้ายมาตั้งแต่ แถลงการณ์ร่วมของที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 30 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ปี1997 ในที่บทที่ 52 แม้ในขณะนั้นประเทศในอาเซียนจะยังไม่มีความเป็นเอกภาพในการมองถึงภัยคุกคามจากการก่อการร้ายของสมาชิกอาเซียนและความเข้าใจที่แตกต่างกันและยังไม่มีความตระหนักถึงภัยคุกคามของการก่อการร้ายร่วมกัน รวมถึงมีรูปแบบของการจัดการก่อการร้ายที่แตกต่างกันไปในประเทศของตนเอง เช่นเดียวกับการดำเนินการที่เป็นอิสระจากอาเซียน ความไม่ไว้วางใจต่อกันในการจัดการร่วมกัน ทำให้มีรูปแบบความร่วมมือทางความมั่นคงที่บอบบางในระยะแรกก่อนเหตุการณ์ 9/11 ทำให้ยังไม่ได้มีการจัดการกับการก่อการร้ายร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมากนัก

หลังจากที่สหรัฐอเมริกามีการประกาศสงครามต่อกลุ่มก่อการร้ายทำให้ประเทศสมาชิกตระหนักถึงการต่อต้านการก่อการร้ายมากขึ้นที่ออกมาในรูปของ ASEAN Declaration on Joint Action to Counter Terrorism 2001 ซึ่งเป็นปฏิญญาที่ได้รับอิทธิผลจากการประกาศสงครามต่อกลุ่มก่อการร้ายต่างๆของสหรัฐอเมริกา และเมื่อภัยของการก่อการร้ายที่รุนแรงได้เดินทางมาถึงภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ หลังจากเหตุการณ์ระเบิดที่บาหลี ปี 2002 ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความเข้าในต่อการก่อการร้ายว่าเป็นภัยคุกคามร่วมกันที่ต้องมีการจัดการร่วมกันมากขึ้น จึงทำให้มีการร่วมมือในการจัดการต่อการก่อการร้ายออกมาในรูปแบบนโยบายต่างๆร่วมกันดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้เราได้เห็นรูปแบบของความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในการจัดการกับการก่อการร้ายได้ชัดขึ้น บนฐานของข้อจำกัดที่มากมาย อย่างความหวาดระแวงต่อการแทรกแซงกิจการภายในของอาเซียนที่เป็นอุปสรรค์ต่อการร่วมมือและสร้างมาตรการสำหรับอาเซียนมาตลอด บนพื้นฐานของการไม่ไว้วางใจกันของรัฐสมาชิก การมองว่ารัฐสมาชิกเป็นคู่แข่ง และการขาดซึ่งอัตลักษณ์ร่วมกันของอาเซียน แต่การจัดการร่วมกันในเรื่องของการก่อการร้ายนี้ที่เกิดขึ้นได้และมีความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในระดับหนึ่งเนื่องมาจากผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิกที่หวาดระแวงต่อการก่อการร้ายร่วมกัน ทำให้เราได้เห็นถึงรูปแบบความร่วมมือและมาตรการในการจัดการกับการก็การร้ายของอาเซียน แม้จะไม่ได้มีความแนบแน่นไปถึงระดับสูงสุดของรูปแบบของการจัดการความมั่นคงร่วมกัน แต่ก็ถือว่ายังเป็นความร่วมมือที่ประสบผลสำเร็จในระดับเริ่มรก(nascent) ในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้ายร่วมกัน เนื่องจากไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานหรือกองกำลังร่วมกันในการจัดการกับการก่อการร้ายในภูมิภาคร่วมกัน เช่นเดียวกับการไม่มีรูปแบบความร่วมมือทางความมั่นคงร่วมกันในอาเซียน ซึ่งรูปแบบของการก่อการร้ายก็ได้มีความเบาบางลงไปไม่ได้มีความรุนแรงเท่าเหตุการณ์การก่อการร้ายที่บาหลีเมื่อปี 2002 อีก[58][59][60]

 

ความร่วมมือและมาตรการในการจัดการกับการก็การร้ายของอาเซียนที่เป็นรูปธรรมมีดังนี้

- แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานความมั่นคงระหว่างประเทศสมาชิก โดยการจัดตั้ง ASEAN network security action council เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนข้อมูลด้านความมั่นคงร่วมกัน นำไปสู่การจับกุมร่วมกันของอินโดนีเซียและสิงคโปร์ต่อ Mas Selamat Kastari ผู้สงสัยว่าเป็นหัวหน้าของเครือข่าย Jemaah Islamiyah  ในสิงคโปร์ และการจับกุม Abu Rusdin พร้อมด้วยผู้ต้องสงสัยอีก 17 คนในสิงคโปร์ ในปี 2003

- มีการจัดตั้ง Commputer Emergency Response Team เพื่อตอบโต้การก่อการร้ายในทางไซเบอร์ ทำให้มีการจับกุมสมาชิกกลุ่ม Jemaah Islamiah 23 คนที่สิงค์โปร ในปี 2002
- ตั้งศูนย์เตือนภัยการก่อการร้ายล่วงหน้า ระหว่างหน่วยงานความมั่นคงของประเทศสมาชิก

- ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อขัดขวางการข้ามแดนของผู้ก่อการร้านระหว่างประเทศสมาชิก และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดระหว่างกัน (best practices) ในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้าย

- การปราบปรามยับยั้งการสนับสนุนและจัดหาเงินทุนให้แก่กลุ่มก่อการร้ายร่วมกัน ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ของสหประชาชาติ

- การหารือแลกเปลี่ยนรูปแบบแนวทางการจัดการที่เป็นรูปธรรมและการริเริ่มรูปแบบใหม่ๆจากการแลกเปลี่ยนในเวทีที่มีประเทศนอกภูมิภาคที่เผชิญกับปัญหาการก่อการร้ายเช่นกัน เช่น ASEAN+3 AMMTC+3 ARF ADMM+ APEC (ในเชิงเศรษฐกิจ) เป็นต้น

  

ข้อเสนอในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้ายในอาเซียน

    จากข้อสรุปข้างตนผมเห็นว่าความร่วมมือระหว่างชาติสมาชิกอาเซียนหลังจาก เหตุการณ์การก่อการร้ายที่บาหลีเมื่อปี 2002 แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจและตระหนักถึงการจัดการการก่อการร้ายร่วมกันที่มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเกิดประสิทธิผลในการดำเนินการเห็นได้จากการจับกุมผู้ก่อการร้ายที่สำเร็จผลร่วมกัน แต่สิ่งที่จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันได้ดีขึ้นไปอีกคือ ต้องลดการไม่ไว้วางใจระหว่างประเทศสมาชิก ลดการมองว่ารัฐสมาชิกเป็นคู่แข่งที่จะได้หรือเสียเปรียบในการกระทำใดๆ และการสร้างอัตลักษณ์ร่วมให้เกิดขึ้นของชาติสมาชิกอาเซียน สิ่งต่างๆเหล่านี้จะทำให้รูปแบบของความร่วมมือในการจัดการการก่อการร้ายร่วมกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงจัดตั้งรูปแบบของกองกำลังร่วมกันของประเทศสมาชิกการสังกัดหน่วยงานทางความมั่นคงที่เกี่ยวข้องในการจัดการกับปัญหาการก่อการร้ายในทางปฏิบัติมากขึ้นในภูมิภาค

ในมิติทางสังคม ชาติสมาชิกควรร่วมกันส่งเสริมร่วมกันในเรื่องการให้ความเข้าใจถึงรูปแบบอุดมการณ์ต่างๆอย่างแท้จริงต่อประชาชนของชาติตน ที่มักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือปลุกปั่นผู้คนให้เข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ เช่น อุดมการณ์ Islamist หัวรุนแรงที่มี การตีความคัมภีร์ตามตัวอักษรไปในทางที่ผิดเพื่อผลประโยชน์และวาระที่ซ่อนเร้นของกลุ่มก่อการร้าย รวมถึงควรส่งเสริมการทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มเชื่อชาติและศาสนาที่แตกต่างกันในสังคมเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดระหว่างกลุ่มศาสนาและเชื้อชาติที่แตกต่างกันในสังคมภายในประเทศและระหว่างประเทศสมาชิก

ในมิติทางการเมืองรัฐสมาชิกต่างๆต้องร่วมมือกันในการส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องทางการเมืองที่ถูกต้องแก่พลเมืองของตนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือและถูกชักจูงได้ง่ายจากกลุ่มผู้ก่อการร้าย

ในมิติทางเศรษฐกิจ รัฐต่างๆควรมีการร่วมมือกันแลกเปลี่ยนวิธีการปฏิบัตที่ดีที่สุด ในการส่งเสริมเรื่องสวัสดิการภาคสังคมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีความมั่นคงในชีวิต

การส่งเสริมในสิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดต่อสาเหตุตามที่ระบุไว้ใน APSC 2025 ต่อการปลุกปั่นทำให้เกิดสมาชิกผู้ก่อการร้ายที่มากขึ้น จากผู้คนที่มี ความยากจน ภาวะการว่างงาน การขาดการศึกษา และการได้รับการดูแลจากภาครัฐที่แตกต่างถูกละเมิดในความมั่นคงของมนุษย์และความไม่เท่าเทียมกันมีการเลือกปฏิบัติจากภาครัฐต่อพลเมือง เป็นต้น[61]








บรรณานุกรม

[1] Iain McLean and Alistair McMillan (2009) The Concise Oxford Dictionary of Politics (3 ed.): Oxford University Press
[2] The National Memorial Institute for the Prevention of Terrorism: Terrorism Knowledge Base (2001)  Japanese Red Army (JRA)
[4] Greg Fealy (2004) Islamic Radicalism in Indonesia: The Faltering Revival?: Daljit Singh/Chin Kin Wah (eds.), Southeast Asian Affairs 2004. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, p. 106
[5] Congressional Research Service (2009) Terrorism in Southeast Asia
[6] Khairuldeen Al Makhzoomi (2016) Terrorism in Southeast Asia and the Role of Ideology
[7]  Zalman, Amy (2008) Jemaah Islamiyah (JI)
[8] DOUGLAS JEHL (1997) Lebanon Seizes Japanese Radicals Sought in Terror Attacks: The New York Times.
[9] Tempo Interaktif  (2004) Teror Bom di Indonesia (Beberapa di Luar Negeri) dari Waktu ke Waktu
[10] Conboy, Ken (2003) Kopassus: Inside Indonesia's Special Forces: Equinox Publishing pp.277–288
[11] TIM MCGIRK (2001) Perpetually Perilous.
[12] Debbie Meroff (1999) In His Majesty's Service: A Salute to the MV Doulos
[14] Suburban Emergency Management Project (2006) The Bloody Trail of Abu Sayyaf, Al Qaeda's Agent in East Asia
[15] Ibid.,13
[16] GMA News (2007) Abu Sayyaf kidnappings, bombings and other attacks 
[17]  Suerte Felipe, Cecille; James Mananghaya (2006) After CBCP rally, PNP prepares for Rizal Day bombing anniversary: The Philippine Star
[19] ABC News  (2001) 11 dead, scores injured in blast in Philippines: radio
[21] Human Rights Watch (2007) Superferry Bombing
[22] Ibid.,20
[23] Ibid.,20
[24] Ibid.,20
[26] BBC News  (2000) Arrests follow church bombings
[30]  Ressa, Maria (2004) JI 'claims Jakarta car bombing: CNN
[33]  Kirsten E. Schulze (2002) Laskar Jihad and the Conflict in Ambon: Brown Journal of World Affairs, vol. 9, no. 1, p. 57
[35] APSC Blue print 2015
[36] Jonathan T. Chow (2005) ASEAN Counterterrorism Cooperation Since 9/11 : Asian Survey Vol. 45, No. 2, pp. 302-321
[37] Adam Greer and Zachary Watson (2016) How to Counter Terrorism in Southeast Asia
[38] Congressional Research Service (2009)  Terrorism in Southeast Asia
[39]  Ibid.,34
[40]  Ibid.,34
[41] Khairuldeen Al Makhzoomi (2016) Terrorism in Southeast Asia and the Role of Ideology
[42] Sartika Soesilowati (2011) ASEAN’s Response to the Challenge of Terrorism : Tahun 2011, Volume 24, Nomor 3 Hal: 228-241 Department of International Relations, FISIP, Airlangga University
[43] Ibid.,34
[44] Ibid.,40
[45] Ibid.,34
[46] Ibid.,40
[47] Ibid.,34
[48] Ibid.,40
[49] Ibid.,34
[50] Ibid.,40
[51] S.Pushpanathan (2014) ASEAN Efforts to Combat Terrorism
[52] Ibid.,34
[53] Ralf Emmers (2007) The Fight against Terrorism:What Role for ASEAN?
[54] สมเกียรติ อ่อนวิมล (2011) อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย
[55] ASEAN CONVENTION ON COUNTER TERRORISM 2007
[56] APSC Blue print 2025
[57] ประภัสสร์ เทพชาตรี (2016) ISIS ในอาเซียน         
[58] Acharya, A (2001) Constructing a Security Community in Southeast Asia: ASEAN and the
problem of regional order. London: Routledge.
[59] Ibid.,34
[60] Ibid.,40
[61] Khairuldeen Al Makhzoomi (2016) Terrorism in Southeast Asia and the Role of Ideology

ความคิดเห็น