ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor)
รูปแบบความร่วมมือทางเศรษฐกิจนี้ถือเป็นรูปแบบที่มีความก้าวหน้าและมีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด ในนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One belt One Road Initiative) เนื่องจากจีนได้ลงทุนอย่างมากมายในปากีสถานในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนน รางรถไฟ ทางยกระดับ ทางด่วน เขตเศรษฐกิจพิเศษ ท่อส่งน้ามันและก๊าซธรรมชาติ สายใยแก้วนำแสง และศูนย์ผลิตและพัฒนาพลังงานทดแทนสำหรับการขนส่ง เพื่ออำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่และทั่วถึง ในการเชื่อมต่อเส้นทางขนส่งสินค้าที่เป็นเส้นทางสายไหมใหม่สำหรับการค้าทางบก จากจีนผ่านรัฐต่าง ๆ ของปากีสถานไปจนถึงท่าเรือน้ำลึกกวาดาร์พอร์ต และออกสู่ทะเลอาหรับเป็นการเข้าสู่เส้นทางสายไหมใหม่สำหรับการค้าทางทะเลต่อไป
ระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน นั้นนำเสนอโดย นาย หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน เมื่อครั้งเยือนประเทศปากีสถานในเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ. 2013 และในระหว่างการเยือนปากีสถานของ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 2015 เขาได้กล่าวถึงการเดินทางครั้งนี้กับสื่อปากีสถานว่า "ผมรู้สึกราวกับว่าผมกำลังจะไปเยี่ยมบ้านพี่ชายของผมเอง"[1] การกล่าวเช่นนี้ของ สี จิ้นผิง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน้นแฟ้นและเป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่มีความสำคัญยิ่งจากการให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในด้านต่าง ๆ มาเป็นระยะเวลายาวนานระหว่างทั้งสองประเทศดังที่กล่าวได้ข้างต้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน ปีค.ศ. 2015
จีนและปากีสถานก็ได้ลงนามในข้อตกลงแผลงานริเริ่มของระเบียงเศรษฐกิจจีน–ปากีสถาน เพื่อให้จีนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ด้วยงบประมาณที่มีมูลค่าถึง
46,000 ล้านเหรียญสหรัฐซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 20%
ของจีดีพีประจำปีของปากีสถาน และปัจจุบันได้ขยายเป็นจำนวนเงินมูลค่า 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดเริ่มต้นของกลยุทธ์ร่วมกันนี้คือการเพิ่มการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างจีนและปากีสถาน
ด้านการขนส่ง พลังงาน เสริมสร้างการเชื่อมต่อ และการส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน เส้นทางของระเบียงเศรษฐกิจระหว่างจีนและปากีสถานนี้เริ่มต้นที่เมือง
คัชการ์ (Kashgar) ของจีน และ สิ้นสุดที่เมือง กวาดาร์ (Gwadar)
ของปากีสถานโดยมีระยะทางทั้งสิ้น 3000 กิโลเมตร
เมืองกวาดาร์นั้นมีก๊าซธรรมชาติสำรองอยู่อย่างมากมายและเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง
ท่าเรือกวาดาร์พอร์ต (Gwadar Port) ซึ่งมีความยาวถึง 3.2 กิโลเมตร
จีนได้เข้ามาพัฒนาจากท่าเรือน้ำลึกเดิมด้วยงบประมาณ
1.62 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งท่าเรือนำลึกนี้ถือเป็นจุดยุธศาสตร์สำคัญของเส้นทางสายไหมใหม่
เนื่องจากเป็นเส้นทางที่สามารถขนส่งสินค้าจากจีนออกไปยังทะเลอาหรับได้และเป็นทางออกที่สอง
ต่อจากท่าเรือน้ำลึกที่จีนกำลังเจรจาวางแผนกับมาเลเซียที่จะสร้างขึ้นใหม่ในช่องแคบมะละกา
และเป็นเส้นทางที่สามารถนำสินค้าจากท่าเรือกวาดาร์พอร์ตนำเข้าขนส่งไปสู่ประเทศจีนในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์
ผ่านทางรถไฟและทางหลวงของปากีสถาน เส้นทางนี้จะเอื้อให้เรือสินค้าของจีนไม่ต้องผ่านมหาสมุทรอินเดียและช่องแคบมะละกาเพื่อไปนำเข้าน้ำมันดิบและสินค้าจากตะวันออกกลางมาส่งมอบสินค้าในทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีนหรือทะเลจีนใต้อีกต่อไป
ซึ่งจะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินเรือถึง 2 ใน 3 และลดความเสี่ยงทางทะเลต่าง
ๆ ได้มากขึ้นตามไปด้วย แต่อาจต้องไปเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการขนส่งทางบกแทนซึ่งมากกว่าทางเรือที่จะผ่านเข้าเส้นทางเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกาถึง
4 เท่า รัฐบาลจีนสามารถประหยัดงบประมาณขนส่งมากขึ้นหากศูนย์ผลิตและพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อการขนส่งของจีนในปากีสถานนั้นมีการวิจัยเป็นผลสำเร็จและเป็นรูปธรรมมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเส้นทางสายไหมใหม่สำหรับการค้าทางบกตั้งแต่กวาดาร์ถึงเมืองคัชการ์นั้น
ต้องผ่านภูมิภาคแคชเมียร์ในส่วนที่ถูกควบคุมโดยปากีสถาน อินเดียจึงมีข้อกังวลอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้เนื่องจากจีนและปากีสถานอาจพัฒนาและใช้เส้นทางนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางทหารในอนาคต
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความมั่นคงที่สำคัญในระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ภายใต้การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandums of Understanding:
MoUs) ระหว่างทั้งสองประเทศ จำนวน 51 ฉบับ
-
โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับสำรวจและขุดเจาะจัดเก็บพลังงานจากถ่านหิน
-
โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการสำรวจและจัดเก็บก๊าซธรรมชาติ
- โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดเก็บพลังงานทดแทนจาก
ลม น้ำ และแสงอาทิตย์
- โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลทางการเกษตร
การจัดเก็บและจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร รวมถึงระบบชลประทาน
- โครงการความร่วมมือทางด้านโทรคมนาคมและอวกาศ
- โครงการความร่วมมือเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือทางความมั่นคงทางทะเล {2},
[1] Ankit
Panda, “Xi Jinping on Pakistan: 'I Feel As If I Am Going to Visit the Home of
My Own Brother,” The Diplomat,
https://thediplomat.com/2015/04/xi-jinping-on-pakistan-i-feel-as-if-i-am-going-to-visit-the-home-of-my-own-brother/
2015 (accessed Octorber 25, 2017).
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น